ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กับ ก้อนพลาค (plaque)
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำไมจึงต้องหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดดำแข็งได้ไหม?
เพราะหลอดเลือดแดงมีปัจจัยและองค์ประกอบ ที่ส่งเสริมการก่อตัวของก้อนพลาค (plaque) ไม่ว่าจะเป็นแรงดันเลือด แรงเสียดทาน และการตอบสนอง ต่อไซโตไคน์ (cytokines) ต่าง ๆ สูงกว่าหลอดเลือดดำ
การเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
[1] เมื่อผนังหลอดเลือดบาดเจ็บ (injury) จากความดันโลหิตสูงหรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ LDL-c (Low Density Lipoprotein) ในกระแสเลือด แทรกตัวผ่านเยื่อบุเซลล์ (endothelial cell) เข้าไปอยู่ในชั้น intima จากนั้น LDL-c จะถูกกักเก็บในร่างแหของ Proteoglycan ซึ่ง Proteoglycan จะจับกับ Apo-B บนผิว LDL-c ทำให้ LDL-c ฝังตัวในหลอดเลือดได้นานขึ้น
[2] นอกจากนี้ ยังมีเกล็ดเลือด (platelet) แคลเซียม สารโลหะหนัก (ตะกั่ว, สารหนู) ที่เล็ดลอดเข้ามาฝังตัวบริเวณนี้ด้วย
[3] จากนั้น LDL-c ถูกออกซิไดซ์โดยสารอนุมูลอิสระ (free radical) ในกระแสเลือด เรียกว่า “Oxidized LDL-c” ซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาฝังตัวในหลอดเลือด อีกทั้ง “Oxidized LDL-c ” ยังไปยับยั้งการขยายตัวของหลอดเลือด (Vasodilation) แล้ว LDL-c ถูกออกซิไดซ์ด้วยสารอนุมูลอิสระได้อย่างไร? โดยปกติ LDL-c ในกระแสเลือดจะถูกออกซิไดซ์ได้น้อยกว่าในผนังหลอดเลือดชั้น intima เนื่องจากในน้ำเลือด (plasma) มีสารต้านอนุมูลอิระ (anti-oxidant) เช่น วิตามินซี (vitamin C), วิตามินอี (Vitamin E), Glutathione peroxidase ดังนั้น LDL-c ที่เข้าไปในชั้น intima จึงมีโอกาส ถูกออกไซด์สูงกว่า LDL-c ในกระแสเลือดและอันตรายกว่า
[4] “Oxidized LDL-c” ที่จัดเป็นสิ่งแปลกปลอมของหลอดเลือดจึงกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาว monocyte เข้ามา กลายร่างเป็น macrophage คอยจับ “Oxidized LDL-c” กิน ทำให้ macrophage ขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า “Foam cell”
[5] “Foam cell” ที่เพิ่มขึ้นจะรวมกันเป็น “fatty streak” ซึ่งจะเห็นรอยนูนในลูเมน (lumen) ของหลอดเลือดนับเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
[6] “fatty streak” ที่หนาขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการบาดเจ็บ (endothelial injury) ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารไซโตไคน์ (cytokine) และ Growth factor (PDGF: platelet-derived growth factor) ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ภายในเยื่อบุ เซลล์แบ่งตัวเพิ่มขึ้น (cell proliferation) ผนังหลอดเลือดจึงหนาขึ้น
[7] เมื่อก้อนพลาค (plaque) ที่ผนังหลอดเลือดนี้แตกออกมาจะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดมารวมตัวกันเพื่อซ่อมแซมบาดแผลบริเวณดังกล่าว เรียกว่า “Thombus” และถ้าหากก้อน “Thombus” นี้หลุดออกมาจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเรียกว่า “Embolus” ล่องลอยไปตามกระแสเลือดก็จะมีความเสี่ยงที่จะไปอุดตันหลอดเลือดได้
[8] ก้อนพลาค (plaque) กับ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) จึงเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน และที่น่ากลัวสำหรับ คุณผู้ชายหลายๆ คนคือ “โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ”
Leave a reply