เริ่มต้นดูแลสุขภาพหลอดเลือดเพื่อสร้างเกราะป้องกัน PM 2.5

ฝุ่น P.M. 2.5 อันตรายอย่างไร ป้องกันอย่างไร

ฝุ่น  PM 2.5 ไมครอนทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร!

ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ ทำให้คนเสียชีวิตก่อนวันอันควรกว่า 7,000,000 คน/ปี

โดย พบว่า 80% ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะ PM 2.5 ไม่เพียงแค่ทำลายระบบทางเดินหายใจ แต่ยังทำลายระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย 

PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matters 2.5 คือฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร เมื่อรวมตัวอยู่ในอากาศจำนวนมาก ๆ จะเห็นเป็นหมอกสีขาว

ปัจจุบัน ฝุ่นละอองในอากาศค่อนข้างเยอะและเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด เพราะละอองฝุ่น PM 2.5 ขนาดเล็ก สามารถเล็ดลอดเข้าสู่โพรงจมูกไปยังถุงลมปอด และแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย ส่งผลให้เกิดการอักเสบและผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นได้จากการอักเสบ    ในระยะยาวหัวใจจะถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตได้

ฝุ่น PM 2.5 ทำให้คนไข้เสียชีวิตด้วยกลไกอะไร

  1. Acute Coronary Syndrome and Myocardial Infarction ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน Arrhythmia หัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  2. Heart Failure and Ischemic Heart Disease หัวใจวายฉับพลันและโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง
  3. Blood Pressure and Hypertension ความดันสูง
  4. Vascular Dysfunction, Peripheral Arterial Disease, and Atherosclerosis ภาวะโรคหลอดเลือดแข็ง
  5. Thrombosis and Coagulation กระตุ้นให้เกิดก้อนเลือดอุดตันและเพิ่มการแข็งตัวของเลือด

กลไกของฝุ่น PM 2.5 ไมครอนที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่

  • Oxidative Stress and Systemic Inflammation ทำให้เกิดภาวะเซลล์เสียหายจากสารอนุมูลอิสระและทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย โดยเริ่มจากเนื้อเยื่อและเส้นเลือดในระบบทางเดินหายในใจปอดสำคัญที่สุดคือเรื่องหัวใจและหลอดเลือด
  • Direct Translocation into Systemic Circulation เนื่องจากฝุ่นมีขนาดเล็กมากจึงสามารถทะลุผ่านเยื่อบุในปอดไปสู่หัวใจและอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกายได้ โดยเฉพาะเนื้อเยื่อและเส้นเลือดหัวใจ
  • Perturbation of the Autonomic Nervous System ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าไปรบกวนระบบการเต้นอัตโนมัติของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ คนไข้ที่มีโรคประจำจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจวาย
  • PM 2.5 and Mitochondrial Dysfunction ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ระบบการสร้างและเผาผลาญพลังงานในไมโตรคอนเดรียเสียหาย ส่งผลให้การเผาผลาญผิดปกติ และกระทบต่อการซ่อมแซม DNA ทำให้ยีนส์เสียหายส่งผลให้อายุสั้นลง
ฝุ่น P.M. 2.5 อันตรายอย่างไร ป้องกันอย่างไร

แนวทางการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสฝุ่น
  • ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95
  • ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีคุณภาพ
  • งดการออกกำลังกายในที่แจ้ง

แนวทางการกำจัดฝุ่นพิษในร่างกาย

  • การให้สารกลูต้าไทออน (Glutathione) ทางหลอดเลือด เนื่องจาก สารกลูต้าไทออน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
  • สารซิเตรด (Citrate)
  • คีเลชั่น (Chelation Therapy)  วิธีการการดูแลรักษาผู้ที่มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ เพราะผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย
  • ทานโอเมกา 3 (Omega 3) วันละ 2 กรัม ลดผผลเสียจากการสะสม PM 2.5 ในร่างกาย
  • น้ำมันมะกอก (Olive Oil) มีสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ช่วยป้องกันโรคทางเดินหายใจ
  • วิตามินกลุ่ม ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ จาก PM 2.5
Leave a reply