รู้ทันอาการภูมิแพ้ขึ้นตา อาการและแนวทางรักษา

คุณมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่? คันตาบ่อย ตาบวม น้ำตาไหล ขี้ตาเหนียว หรือที่เรียกว่า “อาการภูมิแพ้ขึ้นตา” ซึ่งแม้ว่าอาการนี้จะไม่ได้มีความรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจจะสร้างความรำคาญใจ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่คาดไม่ถึงบริเวณดวงตาได้ โดยในบทความนี้ Trin Wellness ผู้นำด้านเวชศาสตร์ ชะลอวัย จะพาคุณมาทำความรู้จักกับอาการภูมิแพ้ขึ้นตาที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นกันเยอะ พร้อมแนะนำแนวทางการรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ใครมีอาการตามที่เรากล่าวไปข้างต้น ก็ต้องติดตามบทความนี้ให้จบ

อาการภูมิแพ้ขึ้นตาคืออะไร

อาการภูมิแพ้ขึ้นตา (allergic Conjunctivitis) คือการอักเสบของเยื่อบุตา เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ฝุ่นละออง เป็นต้น ซึ่งอาการภูมิแพ้ขึ้นตาสามารถพบได้ 10-20% ของคนทั่วไป และหากไม่ได้รับการรักษาจนมีอาการรุนแรงก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

สาเหตุของอาการภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นตา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. แพ้ตามฤดูกาล เป็นอาการแพ้ที่มักเกิดขึ้นตามสภาพอากาศ และมักจะเกิดซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเดิมของแต่ละเดือน
  2. แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น อาหาร เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ขนตุ๊กตา เครื่องสำอาง เป็นต้น
  3. แพ้คอนแทคเลนส์ อาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน หรือใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด โดยมักจะเจอเม็ดขนาดใหญ่บริเวณเยื่อบุตา 

ลักษณะของอาการภูมิแพ้ขึ้นตา

1.มีอาการอักเสบเฉพาะที่เยื่อบุตา และไม่กระทบต่อกระจกตา

  • Acute Allergic Conjunctivitis – ภูมิแพ้แบบเฉียบพลันภายใน 24 ชั่วโมง เกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้โดยตรง เช่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้
  • Seasonal Allergic Conjunctivitis – ภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลและสภาพอากาศ
  • Perential Allergic Conjunctivitis – มีอาการแพ้อยู่เรื่อย ๆ ตลอดทั้งปี อาจเกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เชื้อรา

2.มีอาการอักเสบของเยื่อบุตาและกระจกตา

  • Vernal Keratoconjunctivitis (VKC) – อาการภูมิแพ้ขึ้นตาที่เป็นตามฤดูกาล พบบ่อยในเด็กผู้ชายอายุ 5-20 ปี และมักจะพบบ่อยในช่วงอายุ 11-13 ปี
  • Atopic Keratoconjunctivitis (ATC) – พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40-50 ปี มักจะเป็น ๆ หาย ๆ และมักจะพบผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือหอบหืดร่วมด้วย
  • Giant Papillary Keratoconjunctivitis (GPC) – พบในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน จนทำให้เซลล์ผิวตาเกิดการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา

สำหรับแนวทางในการรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด และเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โดยวิธีรักษาอาการภูมิแพ้ขึ้นตา มีดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอม หรือสารเคมีต่าง ๆ 
  2. หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
  3. ใส่แว่นเพื่อป้องกันไรฝุ่น หรือเกสรดอกไม้มาสัมผัสดวงตา
  4. หยอดยาแก้แพ้ หรือยาลดอักเสบอื่น ๆ ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
  5. หยอดน้ำตาเทียมสม่ำเสมอ โดยควรจะเลือกชนิด Non-Preservative
  6. เข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์ โดยจักษุแพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อลดอาการอักเสบ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ที่ช่วยลดการอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นเวลานาน และกลุ่มยาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ที่ช่วยลดการอักเสบได้แต่ไม่เท่ากลุ่มยาสเตียรอยด์ สามารถหยอดติดต่อกันได้นาน

สรุปเรื่องอาการภูมิแพ้ขึ้นตา

แม้ว่าอาการภูมิแพ้ขึ้นตา จะไม่ใช่อาการที่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา และมีพฤติกรรมที่ทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้น ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น มีแผลที่กระจกตา ตากุ้งยิง ติดเชื้อ กระจกตาผิดรูป เป็นต้น ดังนั้น หากพบว่ามีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา Trin Wellness ก็แนะนำว่าควรจะเข้าไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด

Leave a reply