ส่องเกณฑ์น้ําหนักส่วนสูงผู้ชาย แบบไหนคือสมส่วน
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายตามมาตรฐานสำคัญอย่างไร แบบไหนถึงเรียกว่ารูปร่างสมส่วน? ทำไมต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ คำตอบคือ เพราะเกณฑ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อสุขภาพและบุคลิกภาพโดยรวม ในปัจจุบันหนุ่ม ๆ ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำหนักและส่วนสูง เพราะอยากมีบุคลิกภาพที่ดี ดูหล่อ เท่ และสมาร์ต แต่แท้จริงแล้วเกณฑ์เหล่านี้ก็คือส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ ช่วยลดความเสี่ยงโรคร้าย ภัยเงียบได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคความดัน, เบาหวาน, ไขมัน, โรคอ้วน และอื่น ๆ อีกมากมาย
การดูแลเรื่องเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากอายุมากขึ้นยิ่งต้องระวัง ระบบการเผาผลาญทำงานได้ไม่ดีเท่าสมัยที่ยังเยาว์วัย ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานได้ บทความนี้จะมาเจาะลึกเรื่องนี้เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ที่เป็นตัวชี้วัดเรื่องสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
เกณฑ์น้ําหนักส่วนสูงผู้ชายไทยเฉลี่ยเป็นอย่างไร
ในอดีตเกณฑ์น้ำหนักมาตรฐานชายไทยจะอยู่ที่ราว ๆ 169.4 ซม. และหนักราว 68.9 กก คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยโภชนาการที่ได้รับมีคุณภาพยิ่งขึ้น สำหรับเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายตามมาตรฐานค่าเฉลี่ยส่วนสูงชายไทยในปี 2560 พบว่า ชายไทยนั้นปัจจุบันมีส่วนสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 170 เซนติเมตร
ซึ่งเมื่อคำนวณตามค่าดัชนีมวลกายจะควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 64 – 70 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยมาตรฐาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์จะหมายถึงสุขภาพดี หรือบุคลิกดีเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นตัวชี้วัดสุขภาพที่ดีอีกเช่นกัน ซึ่งจะทราบก็ต่อเมื่อมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เช่น ตรวจไขมันในเลือด, ตรวจหัวใจ, เช็กน้ำตาลในเลือด, และอื่น ๆ
หากมีการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ตามเกณฑ์อยู่แล้ว ก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ข้างต้นได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการคำนวณค่ามาตรฐานของ BMI ต้องดูจากอะไร คำนวณแบบไหน จะเทียบน้ำหนักอย่างไร? เรามีคำแนะนำแบบสรุปมาให้แล้ว
ค่า BMI เท่าไหร่ถือว่าสมส่วน ตามเกณฑ์น้ําหนักส่วนสูงผู้ชาย
ปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุเพศชายมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานมากยิ่งขึ้น อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ตามเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย หรือตามค่ามาตรฐาน BMI คำนวณโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงเป็นเกณฑ์เทียบสำหรับเพศชายที่มีอายุ 25-59 ปี เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน ดังนี้
ส่วนสูง | น้ำหนัก (กก.) จัดอยู่ในกลุ่มผอม | น้ำหนัก (กก.) ตามเกณฑ์มาตรฐาน | น้ำหนัก (กก.) จัดอยู่ในกลุ่มน้ำหนักเกิน |
157 | ต่ำกว่า 58 | 59 – 64 | 65 – 68 |
160 | ต่ำกว่า 59 | 60 – 65 | 66 – 69 |
162 | ต่ำกว่า 60 | 61 – 66 | 67 – 71 |
165 | ต่ำกว่า 61 | 62 – 67 | 68 – 73 |
167 | ต่ำกว่า 62 | 65 – 69 | 70 – 74 |
170 | ต่ำกว่า 63 | 64 – 70 | 71 – 76 |
172 | ต่ำกว่า 64 | 66 – 71 | 72 – 78 |
175 | ต่ำกว่า 65 | 67 – 73 | 74 – 80 |
177 | ต่ำกว่า 66 | 69 – 74 | 75 – 82 |
180 | ต่ำกว่า 67 | 70 – 75 | 76 – 83 |
182 | ต่ำกว่า 68 | 71 – 77 | 78 – 85 |
185 | ต่ำกว่า 69 | 73 – 79 | 80 – 87 |
187 | ต่ำกว่า 70 | 74 – 81 | 82 – 89 |
190 | ต่ำกว่า 72 | 76 – 83 | 84 – 92 |
192 | ต่ำกว่า 74 | 78 – 85 | 86 – 94 |
อ้างอิงตามเกณฑ์ health check systems
วิธีการคำนวณค่า BMI ที่ถูกต้อง
การคำนวณค่า BMI หรือเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย สามารถบ่งบอกได้ว่าตอนนี้น้ำหนักเราอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือเปล่า อ้วน หรือผอมเกินไปหรือไม่ เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นในระยะยาว มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
BMI = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม] / ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง
ตัวอย่าง
หากมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร จะมีวิธีการคำนวณหาค่า BMI คือ 70 / (1.77)*2 = 22.3435 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติตามมาตรฐาน โดยค่ามาตรฐาน BMI จะแบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ค่าเฉลี่ยแต่ละช่วงบอกอะไรได้บ้าง
หลังจากที่คำนวณเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายได้ผลลัพธ์เป็นค่า BMI ซึ่งจะสามารถนำมาประเมินผลลัพธ์ได้ ดังต่อไปนี้
ต่ำกว่า 18.5
หากมีค่า BMI ต่ำกว่า 18.5 นั่นหมายถึงว่า คุณมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ผอมเกินไป มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ และอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคประจำตัว ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีเพิ่มน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ หรือหาสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
18.6-24
ค่า BMI ที่อยู่ในช่วง 18.6-24 จัดว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพโรคอื่น ๆ ต่ำ ซึ่งเป็นค่า BMI ที่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ที่ทุกคนควรดูแลให้อยู่ในระดับนี้ไปตลอด แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงควรตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วยเสมอ
25-29.9
หากใครมีค่า BMI ระดับนี้ถือเป็นโรคอ้วนระดับที่ 1 มีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย ภัยเงียบหลายชนิด ควรรีบควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในค่าตามเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจสุขภาพประจำปี คัดกรองโรคต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นตรวจวัดความดัน, ตรวจไขมันในเลือด, ตรวจหัวใจ, เช็กน้ำตาลในเลือด และอื่น ๆ เพื่อรับมือได้ทันกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
30 ขึ้นไป
หากคุณมีค่าระดับ BMI มากกว่า 30 ขึ้นไป จะถือเป็นโรคอ้วนระดับที่ 2 มีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย ภัยเงียบต่าง ๆ ได้สูงยิ่งขึ้น ต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และเริ่มออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หากคุณมีค่า BMI ที่สูงกว่า 40 ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก เพราะถือว่ามีความเสี่ยงสูงกับการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ และไม่ควรลดน้ำหนักด้วยตนเองแบบผิดวิธี
สรุปบทความ
เรื่องของน้ำหนักตามเกณฑ์ค่า BMI ถือว่ามีความสำคัญมาก ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะวัย 45+ เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายในร่างกายจะเริ่มลดลง ส่งผลกับสุขภาพและระบบเผาผลาญโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป แม้ว่าคุณจะมีค่า BMI ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18.6-24 ก็ควรต้องพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ยิ่งตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุน้อย ๆ ยิ่งดี เพราะสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ รวมทั้งโรคทางพันธุกรรมที่อาจแฝงอยู่ ยิ่งตรวจพบเร็วก็ยิ่งรักษาได้เร็ว อาการของโรคบางชนิดอาจไม่แสดงออกมาในระยะแรกอย่างชัดเจน แต่สามารถเห็นสัญญาณเตือนผ่านค่า BMI ได้ หนุ่ม ๆ ต้องอย่าลืมเช็กว่าร่างกายของเราอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายหรือไม่ เพื่อให้คุณดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
Leave a reply