รู้จักกับภาวะสมองล้า ดูแลอย่างไรไม่ให้สมองเสื่อมก่อนวัยอันควร

ในยุคสมัยนี้อดปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลาย ๆ คนอาจต้องใช้ความคิดและทักษะต่าง ๆ ในการทำงานไปพร้อมกันอย่างหนักหน่วง และเมื่อยิ่งอายุมากขึ้นความเสื่อมของร่างกายย่อมมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสม นอนน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะสมองล้าขึ้นมาได้ในที่สุด รวมถึงยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย 

วันนี้ Trin Wellness Clinic เลยจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับภาวะสมองล้า และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ ติดตามกันต่อเลย

ภาวะสมองล้าคืออะไร

2 ภาวะสมองล้าคืออะไร

ภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog คือ ภาวะความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จากการที่สมองถูกใช้งานหนักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง อาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อยู่ในสถานการณ์อันเร่งรีบที่จะต้องทำงานให้เสร็จ หรือผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาทเสียสมดุลนั่นเอง

จากภาวะสมองล้านี้อาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อม โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้ 

อาการของภาวะสมองล้าเป็นอย่างไร

อาการของภาวะสมองล้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยอาจมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ 

  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดต่อกับงานได้นาน ๆ 
  • แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ไม่ดีเท่าเดิม
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกมึนงง คิดคำพูดไม่ค่อยออก 
  • สมองตื้อ คิดอะไรไม่ค่อยออก
  • นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • ความจำระยะสั้นแย่ลง
  • หลงลืมอยู่บ่อยครั้ง
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง 
  • เหนื่อยง่าย
  • สายตาล้า 

หากสังเกตได้ว่าตนเองมีอาการใกล้เคียง หรือเหมือนกับที่กล่าวมาแนะนำให้พบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติอย่างเคย 

ภาวะสมองล้าเกิดจากอะไร

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ย่อมเปลี่ยนไป จึงมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้าได้มากขึ้น โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 

  • คลื่นแม่เหล็ก เช่น พฤติกรรมจากการใช้งานคอมพิวเตอร์นาน ๆ มีผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาทในสมอง 
  • ขาดสารอาหาร เช่น วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เป็นต้น 
  • ได้รับสารพิษต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น โลหะหนัก จากยาฆ่าแมลง และมลภาวะต่าง ๆ ฝุ่นละอองต่าง ๆ
  • เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตประสาท หรือเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • มีความเครียดสะสม ก่อให้เกิดอาการมึนงง ส่งผลให้ความจำแย่ลง
  • นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จนก่อให้เกิดอาการอ่อนล้าและเพลีย 
  • ร่างกายขาดน้ำหรือดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน
  • มีอนุมูลอิสระในร่างกายเยอะ
  • ร่างกายมีการอักเสบสะสมอยู่ภายใน

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์เชี่ยวชาญ

ในปัจจุบันนี้มีการตรวจสุขภาพในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองล้าแล้ว เพื่อป้องกันความเสื่อมของสมองที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคอันร้ายแรงในอนาคต ซึ่งมีแนวทางการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 

  • ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4) : เนื่องจากฮอร์โมนนี้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้สมองทำงานได้ปกติ มีความคล่องแคล่ว รวมถึงช่วยกระตุ้นระดับการเผาผลาญในร่างกาย หากมีระดับฮอร์โมนนี้ลดลง อาจสันนิษฐานได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างของสมองหรือร่างกาย และอาจเกิดจากภาวะสมองล้าได้
  • ตรวจฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA) : หรือที่รู้จักกันว่าเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด หากผู้ที่มีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ จะตรวจพบได้ว่าระดับฮอร์โมนนี้จะลดลง 
  • ตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) : หรือเรียกกันว่าฮอร์โมนแห่งความเครียด หากท่านใดที่มีฮอร์โมนนี้มากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเกิดภาวะสมองล้าได้
  • ตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic) : สำหรับการตรวจนี้จะรับรู้ได้ถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ว่ามีส่วนใดที่ทำงานผิดปกติไปหรือไม่?
  • ตรวจหาสารพิษโลหะหนักในปัสสาวะ (Toxic Heavy Metal) : เนื่องจากผู้ที่ต้องเผชิญกับภาวะสมองล้าจนมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น อาจเกิดจากสารพิษโลหะหนักที่ได้สะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อย่างสมองนั่นเอง จึงจำเป็นต้องตรวจโลหะหนัก เพื่อใช้ประกอบการหาสาเหตุที่แท้จริงและวิธีรักษาภาวะสมองล้าที่เหมาะสม

ปรับพฤติกรรมอย่างไรไม่ให้สมองล้าเกินไป

3 ปรับพฤติกรรมอย่างไรไม่ให้สมองล้าเกินไป

หากไม่อยากเผชิญกับภาวะสมองล้าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้ 

  • กำหนดระยะเวลาการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยให้หยุดพักเป็นระยะ
  • ไม่เครียดจนเกินไป ให้มองโลกในแง่ดี คิดในแง่บวก หาสื่อบันเทิงดูให้มีอารมณ์ขัน และมีความสุขมากขึ้น 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรนอนดึก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง แถมยังช่วยให้สมองได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน โดยเฉพาะกาแฟในช่วงเย็น เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับ และสมองได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอได้
  • ฝึกสมาธิและมีการจัดลำดับงานสำคัญที่เหมาะสม จะช่วยลดการเร่งรีบที่ทำให้เกิดภาวะเครียดได้

แนะนำสารอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการสมองล้า

4 แนะนำสารอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการสมองล้า

สำหรับสารอาหารบำรุงสมองที่สามารถช่วยบรรเทาอาการสมองล้า และลดโอกาสเกิดภาวะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้ 

  • น้ำมันปลา (Fish Oil) : ประกอบไปด้วยดีเอชเอ (DHA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 พบมากในปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูนา มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้สมองและเส้นประสาท ป้องกันโรคเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงระบบการมองเห็นของจอประสาทตา เป็นต้น 
  • สารสกัดจากแปะก๊วย (Ginkgo Biloba Extract) : มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ให้สามารถไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี ช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนรู้ และเสริมสร้างความจำที่ดี รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น 
  • สารสกัดจมูกข้าว (Gamma Oryzanol) : มีหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีสาร GABA ช่วยปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้สมองเกิดความผ่อนคลาย 
  • กรดอะมิโนแอลธีอะนีน (L-Theanine) : ช่วยเพิ่มสารซีโรโทนิน, โดพามีน และกาบา ทำให้เกิดความสมองผ่อนคลายและลดความเครียดได้ดี 
  • ฟอสฟาติดิลซีรีน (Phosphatidylserine) : ส่วนประกอบหลักของเยื่อหุ้มประสาทในสมอง มีส่วนช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท ช่วยรักษาความจำ ลดความเครียด และบรรเทาความอ่อนล้าของสมอง เป็นต้น 
  • โคลีน (Choline Bitartrate) และอิโนซิทอล (Inositol) : เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อ รวมถึงเป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันการเกิดภาวะความจำเสื่อม
  • วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) : มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง 

สรุปเกี่ยวกับภาวะสมองล้า

ภาวะสมองล้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว ดังนั้นการบำรุงสมองให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาที่พอดี พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และเลือกทานอาหารเสริมบำรุงสมองที่ได้มาตรฐาน 

อีกทางเลือกหนึ่งที่อยากแนะนำ คือ พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่าง Trin Wellness Clinic คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่พร้อมบริการครบวงจร ทั้งการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมน ตลอดจนช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้กลับสู่ค่าปกติ ที่สำคัญ ได้มาตรฐานระดับโรงพยาบาล เราพร้อมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน 

หากท่านสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

Leave a reply