รู้ทันคอลเลสเตอรอลสูงภาวะเสี่ยง อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด

คอลเลสรอลนั้นคือไขมันประเภทหนึ่งที่มีรปะโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะการเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรง แน่นอนว่าถ้าในร่างกายมีระดับคอลเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดที่พอเหมาะพอดีราว ๆ 200 Ml/dl. ถือว่าให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม แต่ในทางกลับกันหากคุณมีปริมาณคอลเลสเตอรอลสูงเกิดค่ามาตรฐานละก็ไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน วันนี้ Trin Wellness จะมาอธิบายให้คุณได้เข้าใจว่าการที่คุณมีปริมาณคอลเลสเตอรอลสูงจะส่งผลกระทบต่อตัวคุณอย่างไรบ้าง

คอลเลสเตอรอลสูงคืออะไร

คอลเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะที่ในที่เลือดของพวกเรามีปริมาณของคอลเลสเตอรอลมากเกินมาตรฐาน ราวๆ 240 ml/dl. ขึ้นไป ซึ่งเป็นปริมาณที่ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง อาจทำให้ร่างกายต้องเสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด อาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสอง เป็นต้น โดยคอลเลสเตอรอลนั้นยังสามารถจำแนกได้อีก 2 ชนิดที่ต้องความสำคัญด้วยเช่น

 2 ชนิดของคอลเลสเตอรอลที่ต้องให้ความสำคัญ

ตามจริงแล้วคอลเลสเตอรอลคือไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ แต่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นต้องมีการกินอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ซึ่งในอาหารแทบทุกชนิดล้วนมีคอลเลสเตอรอลรวมอยู่ด้วยเช่นกัน โดยคอลเลสเตอรอลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

1. คอลเลสเตอรอลดี HDL (High Density Lipoprotein)

เป็นคอลเลสเตอรอลที่มีหน้าที่ในการนำคอลเลสเตอรอลส่วนเกินจากเซลล์ ลำเลียงกลับไปยังตับเพื่อทำลายหรือขับออกในรูปแบบของเสีย หากในร่างกายมีคอลเลสเตอรอล HDL ในระดับที่ดีก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือดได้ดี ระดับคอลเลสเตอรอล HDL ที่ดีควรอยู่ระหว่าง 40-60 Ml/dl.

2. คอลเลสเตอรอลไม่ดี LDL (Low Density Lipoprotein)

เป็นคอลเลสเตอรอลอีกชนิดที่คอยลำเลียงคอลเลสเตอรอลไปยังหลอดเลือดแดง เพื่อใช้สร้างเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากคุณมีปริมาณคอลเลสเตอรอล LDL สูงเกินมาตรฐาน ก็จะเกินการสะสมอยู่ที่บริเวณผนังหลอดเลือด ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายโดยตรง ระดับคอลเลสเตอรอล LDL ควรอยู่ระหว่าง 100-129 ml/dl. ถือว่ากำลังดี หากอยู่ในปริมาณ 160 Ml/dl. ขึ้นถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณ

อาการของภาวะคอเลสเตอรอลสูง

สำหรับภาวะของคอเลสเตอรอลสูง โดยปกติแล้วจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในกรณีที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงมากอาจทำให้เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ หากต้องการทราบถึงอาการต่าง ๆ ที่ระบุได้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

าเหตุของภาวะคอลเลสเตอรอลสูง

ภาวะคอลเลสเตอรอลสูงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในร่างกายที่มีผลต่อการเกิดภาวะคอลเลสเตอรอลสูง โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

ปัจจัยแรกเกิดมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งมีหลายอย่างที่เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้ปริมาณคอลเลสเตอรอลสูงขึ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น

  • การทานอาหารที่อุดมไปไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันอย่าง หมูสามชั้น เบคอน หนังไก่ทอด อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก ลูกชิ้น ผลิตภัณฑ์นม เนย กะทิ เบเกอรี่ รวมไปถึงอาหารที่มีคอลเลสเตอรอลสูงบางชนิด เช่น หอยนางรม หมึก เครื่องในสัตว์ ไข่แดง (ในกรณีที่ทานเกิน 4 ฟองต่อสัปดาห์) เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด คือตัวการสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้ปริมาณไตรกลีเซอไรด์และคอลเลสเตอรอลสูงขึ้น 
  • การสูบบุหรี่ ก่อให้เกิดสารเคมีบางตัวเข้าไปขัดขวางการทำงานของคอลเลสเตอรอล HDL ไม่สามารถลำเลียงคอลเลสเตอรอลส่วนเกินไปยังตับได้ ส่ผงลให้เกิดการสะสมของคอลเลสเตอรอล LDL ตามผนังหลอดเลือดแดงจำนวนมาก 
  • การออกกำลังกายน้อย ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญคอลเลสเตอรอล LDL ได้ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น จนเกิดหการสะสมของคอลเลสเตอรอลมากเกินไป

2. ผลข้างเคียงจากโรคบางชนิด

เรื่องปัญหาสุภาพก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คอลเลสเตอรอลสูงเช่นกัน โดยเฉพาะผลข้างเคียงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคตับ และโรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ ซึ่งการรักษาเพื่อลดระดับคอลเลสเตอรอลจากปัจจัยเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

3. กรรมพันธุ์

นอกจากเรื่องของพฤติกรรมการใช้ชีวิตและผลข้างเคียงจากโรคต่าง ๆ แล้ว เรื่องของกรรมพันธุ์ก็ถือว่ามีส่วนด้วยเช่นกัน ซึ่งพ่อและแม่สามารถถ่ายทอดได้โดยตรงทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า “ไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์” (Familial Hypercholesterolemia) ผู้ที่ถูกถ่ายทอดก็จะมีปริมาณคอลเลสเตอรอลสูงตั้งแต่กำเนิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจมากกว่าคนทั่วไปนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น คนในตระกูลเคยมีประวัติการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง ก็อาจถูกถ่ายถอดทางสายเลือดได้เช่นกัน และอายุที่มากขึ้นก็ถือว่าเสี่ยงไม่แพ้กัน

การวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ในปัจจุบันนี้ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงสามารถวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเลือดแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะตรวจรวมกับการตรวจระดับไขมันเลือด (Lipid Profile) ซึ่งจะแสดงผลระดับของคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี คอเลสเตอรอลที่ดี และไตรกลีเซอไรด์ได้จากการตรวจครั้งเดียว โดยผู้ที่ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือด ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคระบบหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร
  • ผู้ที่มีสมาชิกครอบครัวใกล้ชิดผู้ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
  • ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease: PAD)
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต หรือตับอ่อนอักเสบ

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยระดับไขมันในเลือด ควรอดอาหารอย่างน้อย 10 – 12 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายย่อยอาหารจนหมดและไม่ส่งผลกระทบต่อการตรวจ โดยแพทย์จะเจาะเลือดและนำผลไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเกณฑ์วัดระดับคอเลสเตอรอลสามารถดูได้ ดังนี้

ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)

  • สูง: มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย: 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ปกติ: น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL Cholesterol)

  • สูง: มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ต่ำ: น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholesterol)

  • สูงมาก: มากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง: 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย: 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ใกล้เคียงปกติ: 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ปกติ: น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

  • สูงมาก: มากกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง: 200-499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย: 150-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ปกติ: ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

แนวทางการรักษาภาวะคอลเลสเตอรอลสูงโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากคุณไม่มั่นใจว่าตัวเองมีปริมาณคอลเลสเตอรอลในปริมาณเท่าไหร่ คุณสามารถเข้ารับบริการตรวจไขมันในเลือดได้กับ Trin Wellness เพื่อให้คุณวางแผนชีวิตได้ว่าควรปรับพฤติกรรมอะไรบ้าง โดยผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีเป็นต้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิดมาตรฐาน BMI
  • ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากรรมพันธุ์
  • ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคไต, โรคความดันโลหิตสูง, โรคตับ และผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

เมื่อคุณตรวจพบว่ามีปริมาณคอลเลสเตอรอลสูงเกินมาตรฐาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีแนวทางในการรักษาอยู่ 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ควบคุมอาหารการกิน

อันดับแรกสำหรับการลดระดับคอลเลสเตอรอลต้องเริ่มจากการพฤติกรรมการกินอาหาร โดยจะต้องเน้นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่มากที่สุด เพิ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ให้มาก ๆ ลดการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ลง เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างพอเหมาะพอดี เพื่อควบคุมปริมาณคอลเลสเตอรอล LDL ที่จะได้รับจากอาหารได้ดีมากขึ้น

2. การออกกำลังกาย

สิ่งที่ควรทำควบคู่กับการควบคุมอาหารคือการออกกำลัง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยเผาผลาญไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะคอลเลสเตอรอล LDL อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณคอลเลสเตอรอล HDL อีกด้วย เพื่อช่วยกำจัดคอลเลสเตอรอลไม่ดีออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมควรออกกำลังกายหนักปานกลาง เฉลี่ยนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงครึ่ง

3. การรักษาด้วยยาทาน

การใช้ยาทานเพื่อรักษาคอลเลสเตอรอลสูงถือเป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้ที่มีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีโรคประจำตัว อายุมาก และความแข็งแรง โดยตัวยาที่แพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ที่มีภาวะคอลเลสเตอรอลสูงมีดังนี้

  • ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrate) ช่วยลดการผลิตคอลเลสเตอรอล LDL และช่วยกำจัดไตรกลีเซอไรด์
  • ยากลุ่มสเตติน (Statins) ช่วยควบคุมระดับคอลเลสเตอรอล และช่วยปรับกลไกการผลิตคอลเลสเตอรอลให้ลดลง เพื่อให้ตับสามารถกำจัดคอลเลสเตอรอล LDL ได้ดีขึ้น
  • ยาอีเซทิไมบ์ (Ezetimibe) ช่วยขัดขวางการดูดซึมคอลเลสเตอรอลเข้าสู่เส้นเลือด
  • อาหารเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid Supplements) เพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ภาวะแทรกซ้อนของคอเลสเตอรอลสูง

สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูงอาจไม่ได้ส่งผลให้เกิดอาการเฉียบพลัน แต่จะเป็นอาการที่ค่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดจากการไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ที่ส่งผลและเป็นสาเหตุของอาการ ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อหลอดเลือดตีบลงจากไขมันในเลือด การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองจะลดลง ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
  • หัวใจขาดเลือด ไขมันในเลือดจะสะสมภายในหลอดเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้เต็มที่ ก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกที่เป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดที่ส่งผลอันตรายต่อชีวิต

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่นอกจากจะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อภาวะความดันโลหิตสูงที่มีความอันตรายต่อร่างกายไม่แพ้กัน และยังส่งผลทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังได้

สรุปเกี่ยวกับภาวะคอลเลสเตอรอลสูง

ภาวะคอลเลสเตอรอลสูงคือหนึ่งในอาการคนไทยพบเจอเป็นจำนวนมาก และเป็นอาการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้หากไม่มีการดูแลตัวเองที่ดีพอ โดยเฉพาะโรคในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง สำหรับใครไม่มั่นใจหรือมีความกังวลว่าตัวเองมีระดับไขมันในเลือดมากหรือน้อย ที่ Trin Wellness พร้อมให้ดูแลคุณด้วยบริการตรวจไขมันในเลือด พร้อมวิเคราะห์และช่วยวางแผนการใช้ชีวิตให้สุขภาพของคุณแข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุด ปรึกษาเรื่องสุขภาพกับพวกเราผ่านเว็บไซต์ได้เลย

Leave a reply