อัมพฤกษ์ อัมพาต ต่างกันอย่างไร

อัมพฤกษ์ อัมพาต หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้อยู่บ่อยครั้ง และเข้าใจผิดว่ามันเป็นคำเดียวกัน ความหมายเดียวกัน แล้วความจริงของอาการนี้เป็นอย่างไร ทำไมใครหลายคนถึงเข้าใจความหมายมันผิดได้ สาเหตุของอาการนี้มาจากไหน จะพาไปพบกับคำตอบของสองอาการนี้กันว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะเข้าใจและสามารถดูแลตัวเองได้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ กัน

อัมพฤกษ์ อัมพาต มีอาการอย่างไร

อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Stroke) เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้เซลล์สมองตาย อาการของอัมพฤกษ์ อัมพาตจะแบ่งออกเป็น 2 อาการหลัก ๆ คือ

อาการของอัมพฤกษ์

อัมพฤกษ์ อัมพาต มีอาการอย่างไร

อัมพฤกษ์ คือ อาการที่อวัยวะร่างกายในส่วนนั้นอ่อนแรง แต่ยังสามารถขยับหรือเคลื่อนไหวได้อยู่ หรือเป็นเพราะเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วบางส่วน แต่ยังขยับร่างกายได้ จะเกิดความรู้สึกชาตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นบางครั้ง โดยจะมีอาการอื่น ๆ ดังนี้ร่วมด้วย 

  • แขนขา หรืออวัยวะนั้นอ่อนแรงเฉพาะจุด
  • รู้สึกชาตามร่างกาย 
  • ตามัว 
  • สูญเสียความทรงจำ 
  • หงุดหงิดง่าย 
  • ความสามารถในการตัดสินใจ หรือการคำนวณลดลง
  • ปากเบี้ยว ยิ้มไม่ได้
  • หน้าเบี้ยว หรือมุมปากตก
  • ไม่สามารถพูดเป็นคำได้ พูดช้า พูดไม่รู้เรื่อง
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
  • สูญเสียการทรงตัว เดินเซ
  • เคลื่อนไหวช้า
  • ความจำเสื่อมชั่วขณะ

อาการของอัมพาต

อัมพาต คือ มีอาการแขนขากล้ามเนื้อหดตัวและอ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ กล้ามเนื้อจะตึงและแข็ง ทำให้กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกิดตะคริวได้ อาการจะมี 2 ประเภทตามลักษณะของกล้ามเนื้อ โดยอาการที่ขยับไม่ได้จะอาการที่แบ่งเป็นอัมพาตทั่วร่างกาย หรือเฉพาะที่ได้ ดังนี้

อัมพาตครึ่งซีก 

พบเจอได้ในผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่หลอดเลือดผิดปกติอาจมีการแตก ตีบ หรือตัน ไม่ว่าจะเป็นซีกขวา หรือซีกซ้ายก็ตาม ทำให้ร่างกายอ่อนแรง เช่น ถ้าเราเป็นโรคหลอดเลือดตีบด้านซ้าย ก็จะทำให้อวัยวะด้านขวาอ่อนแรงหรือสูญเสียการทรงตัวไป 

อัมพาตครึ่งท่อน

เป็นอาการที่ไม่สามารถขยับตัวเคลื่อนไหวได้ในท่อนล่าง เกิดจากคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง เช่น อุบัติเหตุ มะเร็งที่กดทับไขสันหลัง 

อัมพาตทั้งตัว 

อาจจะเกี่ยวกับโรคไขสันหลังเหมือนกัน แต่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง คือ ระดับคอ หรือเกิดจากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่หลอดเลือดตีบ ตันทั้งสองข้างนั่นเอง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ทั้งตัว

อัมพฤกษ์ อัมพาต ต่างกันอย่างไร

อัมพฤกษ์ อัมพาต ต่างกันอย่างไร

ถ้าถามว่าอัมพฤกษ์ อัมพาต ต่างกันอย่างไร คำตอบคือ แตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของอาการอ่อนแรงของร่างกาย หากเป็นอัมพฤกษ์ยังคงเคลื่อนไหวร่างกายได้อยู่ แต่หากเป็นอัมพาตจะไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นหากสงสัยให้สังเกตตามอาการในเบื้องต้นได้

แนวทางการดูแลรักษา อัมพฤกษ์ อัมพาต 

ถ้ามีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต แพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามอาการป่วยต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ แต่ถ้ามีอาการเป็นอัมพาตแบบถาวรแล้วจะไม่สามารถรักษาได้ จะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่อไปยังไงให้ได้มากกว่า แต่หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็สามารถรักษาได้ตามวิธีการนี้

การผ่าตัด 

เป็นการผ่าตัดตามวินิจฉัยของแพทย์ ในการรักษาตามสาเหตุ โดยเป็นการผ่าตัด หรือการตัดอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตนั่นเอง

การทำกายภาพบำบัด 

เป็นการฝึกร่างกายที่อ่อนแรง หรือไม่มีแรง ในการช่วยฟื้นฟูประสาทกล้ามเนื้อให้กลับมาทำงานได้ โดยเป็นการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง และเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด

การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว 

  • การใช้รถเข็นวีลแชร์ : ในการขยับตัวหรือเคลื่อนไหว เหมาะกับคนที่เป็นอัมพาตครึ่งท่อน เช่น วีลแชร์ธรรมดา และวีลแชร์ไฟฟ้า 
  • การใช้กายอุปกรณ์เสริม : ใช้ในการช่วยบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เป็นอัมพาต เช่น มือ ข้อมือ เท้า ข้อเท้า และข้อเข่า 
  • อุปกรณ์การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย : สำหรับคนที่มีปัญหาเส้นประสาทถูกทับบริเวณกระดูกไขสันหลังเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตแล้วไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ เช่น ฝึกควบคุมการขับถ่าย การสวนอุจจาระ การต่อสายท่อปัสสาวะ และการใส่ถุงอุจจาระ

สรุปจบบทความ 

สรุป อัมพฤกษ์ อัมพาต ต่างกันอย่างไร หลายคนน่าจะเข้าใจกันมากขึ้นว่าต่างกันอย่างไรบ้าง จะได้ดูแลหรือรักษาตามอาการได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี เพราะผู้ป่วยเหล่านี้มีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูงอายุก็จะยิ่งเพิ่มความยากลำบากมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากร่างกายที่เคยใช้การได้ตามปกติ เกิดการสะดุด เพราะอาการอัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่รอบข้างที่จะต้องคอยดูแล ช่วยเหลือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน และให้กำลังใจผู้ป่วย

Leave a reply