ไตรกลีเซอไรด์สูง ภาวะเสี่ยงที่หลายคนไม่รู้ตัว

รู้หรือไม่ว่า อาหารแต่ละวันที่เรารับประทานเข้าไป เป็นตัวช่วยสร้างพลังงานให้กับร่างกาย เพื่อให้มีแรงขับเคลื่อน ในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน เปรียบเสมือนการเติมน้ำมันเครื่องให้รถยนต์นั่นเอง แต่บางทีเราก็อาจเผลอลืมตัวทานสิ่งที่เป็นโทษให้กับร่างกายมากจนเกินไป โดยเฉพาะการทานน้ำตาลและไขมันที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะไตรกลีเซอไรด์ สูง จนไม่รู้ตัว ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึงไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากอะไร และควรรับมืออย่างไร?

ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงคืออะไร

ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงคืออะไร

อาหารเป็นสิ่งที่เราต้องรับประทานในทุกวัน แต่เราสามารถเลี่ยงอาหารที่จะให้โทษให้กับร่างกายได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงจนเกินไป ซึ่งเป็นตัวการร้ายที่ช่วยสร้างไตรกลีเซอไรด์ อาทิ ข้าว ขนมปัง แป้ง น้ำมัน เนย หมูสามชั้น หนังหมู และอาหารฟาสต์ฟูด ซึ่งควรเลี่ยงอาหารเหล่านี้ จะเป็นการดีกับร่างกายเรามากที่สุด

หากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมากไป สารอาหารส่วนเกินจะกลายเป็นไตรกลีเซอไรด์ และเป็นอาหารสำรองให้กับร่างกาย โดยจะไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน และตับ หากมีไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ก็ย่อมเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้

สาเหตุที่ทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูง

สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากหลายปัจจัย แต่มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้

  • การรับประทานอาหารในแต่ละวันที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันมากจนเกินไป
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือไม่เคยออกกำลังเลย
  • ดื่มแอลกอฮอล์หนักจนเกินไป
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต และโรคอ้วน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน แล้วไม่ยอมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี
  • การรับประทานยาบางชนิด อาทิเช่น ยาคุม หรือยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
  • พันธุกรรม ก็อาจมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงได้

ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงมีอาการอย่างไร

ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง เป็นภาวะที่หลายคนไม่ทันสังเกต เพราะจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่เมื่อได้เป็นแล้ว จะเกิดอาการคลื่นไส้ เวียนหัว เจ็บหน้าอก และอ่อนเพลียอยู่เป็นประจำ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วย ดังนั้นการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เกณฑ์การวัดระดับไตรกลีเซอไรด์

สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่อยากตรวจสุขภาพประจำปี ทางการแพทย์จะทำการเจาะเลือด ไปตรวจไขมันในเลือด ซึ่งจะทำให้ทราบผลทั้งการตรวจไขมันคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์พร้อมกัน 

แต่สำหรับใครที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาทิ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ ควรจะรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งผลของการตรวจเลือด จะเทียบเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

  • ระดับปกติ : ระดับของไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มก./ดล.
  • ระดับคาบเส้น : ระดับของไตรกลีเซอไรด์ 150 – 199 มก./ดล.
  • ระดับสูง : ระดับของไตรกลีเซอไรด์ 200 – 499 มก./ดล.
  • ระดับสูงมาก : ระดับของไตรกลีเซอไรด์ 500 มก./ดล. ขึ้นไป

ดังนั้นการตรวจสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราได้รู้ตัวและปรับพฤติกรรมได้ทัน ทั้งยังช่วยเตรียมความพร้อมให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ทันอีกด้วย

ไตรกลีเซอไรด์สูงเสี่ยงโรคอะไรบ้าง

ไตรกลีเซอไรด์สูงเสี่ยงโรคอะไรบ้าง

หากพบว่าเป็นไตรกลีเซอไรด์สูง หรือผลของการตรวจเลือดมีระดับไตรกลีเซอไรด์ตั้งแต่ 150 มก./ดล. ขึ้นไป ควรจะหมั่นดูแลตัวเองได้แล้ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็มีสิทธิ์ที่ค่านี้จะยิ่งขึ้นสูงไปเรื่อย ๆ  หากมีไตรกลีเซอไรด์สูง จะทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัวและหนาขึ้นได้ง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไทรอยด์ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น

รักษาอย่างไรเมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง

การรักษาไตรกลีเซอไรด์สูง สามารถเริ่มต้นได้จากพฤติกรรมตัวเราเอง ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกากใยมากขึ้น หรืออุดมไปด้วยโอเมก้า 3 
  • หมั่นควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เกิดมาตรฐาน
  • ลดการดื่มน้ำหวาน และอาหารที่มีไขมันสูง 
  • หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ 

สำหรับใครที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าควรรีบปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด ซึ่งแพทย์จะมีการจ่ายยาให้มารับประทานที่บ้าน เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากกว่า 500 มก./ดล. ขึ้นไป

ป้องกันอย่างไรให้ค่าไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับปกติ

ป้องกันอย่างไรให้ค่าไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับปกติ

เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่าภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงได้ถามหา สิ่งหนึ่งที่เราทำได้นั้นก็คือป้องกันไม่ให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ของเราเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งวิธีป้องกันมีดังนี้

  • ลดอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง รวมไปถึงเครื่องดื่มอย่าง น้ำหวาน และชาไข่มุก
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่ให้โอเมก้า 3 สูง หรือทานน้ำมันปลา
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือ 3 – 4 วัน/สัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป เพราะเสี่ยงเป็นภาวะโรคอ้วนได้ง่าย
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรรับการตรวจเลือดตามคำแนะนำของแพทย์เป็นประจำ

สรุปบทบทความ

หากใครที่กำลังมีพฤติกรรมชอบทานแต่ของทอด หมูสามชั้น หรืออาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง แนะนำว่าควรลดการทานหรือเลี่ยงไม่ทานไปเลย จะดีกับร่างกายของเราอย่างมาก ไม่งั้นไตรกลีเซอไรด์สูงจะมาหาเอาได้ง่าย ๆ  สำหรับใครที่อยาก ตรวจไขมันในเลือด เพื่อเช็กว่ามีความเสี่ยงจะเป็นไตรกลีเซอไรด์สูงหรือเปล่า? แต่ไม่รู้ว่าจะตรวจเลือดหรือปรึกษากับที่ไหนดี ก็สามารถสอบถามที่ Trin Wellness ได้ เรามีแพทย์ที่ชำนาญ พร้อมช่วยดูแลทุกปัญหาสุขภาพให้กับทุกท่าน เพราะสุขภาพที่ดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องรีบดูแลสุขภาพของตัวคุณเองตั้งแต่วันนี้

Leave a reply