รู้จักกับสาเหตุไขมันในเลือดสูง ภาวะเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่หลายคนไม่เคยรู้
รู้หรือไม่ว่าในเลือดของเราทุกคนมีส่วนประกอบของไขมันรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากมีไขมันในเลือดระดับที่ดีตามมาตรฐานก็จะทำให้ร่างกายมีความสมดุลแข็งแรงไม่เจ็บป่วยได้ง่าย ๆ ในทางกลับกันหากคุณมีไขมันในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานละก็ อาจทำให้คุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงหลากหลายชนิด โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น วันนี้ Trin Wellness จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะไขมันในเลือดสูงให้มากขึ้น เพื่อให้คุณพร้อมรับมือด้วยการตรวจไขมันในเลือดและวางแผนล้างไขมันในเส้นเลือดได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
ภาวะไขมันในเลือดสูงคืออะไร?
ไขมันในเลือดสูงคือ ภาวะที่ทางเดินหลอดเลือดของเรามีไขมันประเภทคอลเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกรีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เกาะและอุดตันในผนังหลอดเลือดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถลำเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามปกติ เมื่อไขมันในเลือดบางส่วนที่ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตับได้เศษที่เหลือก็อาจจะไปกองอยู่ที่ส่วนของไต และถูกขับออกมาทางปัสสาวะอีกที เป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จึงทำให้การตรวจวันระดับไขมันในเลือดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัย 35 ปีขึ้นไปจำเป็นต้องได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
ไขมันในเลือดมีกี่ชนิด?
เมื่อเข้ารับการตรวจวันระดับไขมันในเลือดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์จากไขมันทั้งหมด 4 ชนิดดังต่อไปนี้
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
คอลเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถรับได้จาก 2 ทางคือจากการสังเคราะห์ขึ้นเองจากตับและลำไส้ กับอีกทางคือมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อส่วนที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบจะพบคอเลสเตอรอลในปริมาณมาก ตามจริงแล้วคอลเลสเตอรอลถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของพวกเรา แต่ถ้าหากมีปริมาณมากเกินไปคอเลสเตอรอลก็จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง ทั้งหลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้หลอดเลือดตีบได้ในอนาคต
ตามมาตรฐานทั่วไปคนเราควรมีปริมาณคอเลสเตอรอลอยู่ไม่ควรต่ำกว่า 200 ml/dL. หากอยู่ในระดับ 240 ml/dL. ขึ้นไปถือว่าอยู่เกณฑ์เสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้จากตับ และสามารถรับเข้ามาได้จากปัจจัยภายนอกอย่างอาหารประเภทไขมันแท้ และอาหารที่มีน้ำตาลสูงไม่ว่าจะเป็น เบเกอรี่ที่มีส่วนประกอบของเนย ขนมที่มีส่วนประกอบของแป้งในปริมาณมาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมน้ำตาล อาหารทอด หมูสามชั้น เป็นต้น เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้มากเกินความจำเป็น ในส่วนที่เหลือก็จะถูกแปรรูปเป็นไตรกลีเซอไรด์และนำไปสะสมตามเนื้อเยื่อชั้นไขมัน และสะสมในตับเพื่อเป็นพลังงานสำรองของร่างกายปริมาณไตรกลีเซอไรด์ตามมาตรฐานควรรู้ในระดับไม่น้อยกว่า 150 Ml/dl. และไม่ควรให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 200 Ml/dl. เป็นต้นไป ซึ่งจะอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพโดยตรง
3. ไขมันดี HDL (High Density Lipoprotein)
ไขมันดี HDL คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ในการลำเลียงคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์จากหลอดเลือดแดงและตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไปย่อยสลายที่ตับเพื่อผลิตออกมาเป็นน้ำดี มากไปกว่านั้นไขมันดียังสามารถช่วยป้องกันการสะสมของไขมันเลว LDL ในบริเวณหลอดเลือดแดงได้เป็นอย่างดี สามารถหาไขมันดีได้จากอาหารที่มีกรดไขมันสูง เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน ไข่ไก่ ผลอะโวคาโด เป็นต้น ในร่างกายควรมีไขมันดี HDL ประมาณ 60 Ml/dl. และไม่ควรต่ำกว่า 35 Ml/dl.
4. ไขมันเลว LDL (Low Density Lipoprotein)
ไขมันเลว LDL คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่คอยลำเลียงคอเลสเตอรอลไปสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อและหลอดเลือดแดง หากในร่างกายมีปริมาณไขมันเลวมากเกินไปจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงเกิดการตีบตันได้ และอันตรายต่อระบบการทำงานของหัวใจเป็นอย่างมาก โดยไขมันชนิดนี้ล้วนมาจากปัจจัยภายนอกอย่างอาหาร เช่น อาหารประเภททอด เบเกอรี่ที่มีส่วนผสมของเนยและมาการีน ครีมเทียมในเครื่องดื่มประเภทกาแฟ กะทิ และน้ำมันจากสัตว์ เป็นต้น ระดับของไขมันเลว LDL ที่ยอมรับได้จะอยู่ระหว่าง 60-130 Ml/dl. หากมีปริมาณมากกว่า 159 Ml/dl. ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง
สาเหตุไขมันในเลือดสูงที่หลายคนไม่เคยรู้
ภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นสามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่นอกเหนือจากอาหารการกินที่มีการทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันจากสัตว์ แป้งและน้ำตาลสูง โดยมีปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว
- ผลข้างเคียงจากโรคบางชนิด เช่น โรคตับ โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ (โรคเบาหวาน, โรคไทรอยด์, ต่อมหมวกไต)
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เป็นต้น
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ไม่ออกกำลังกาย
อาการข้างเคียงจากภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงมักจะพบอาการหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น อาการแน่นหน้าอก อาการหายใจไม่ทั่วท้อง อาจมีอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย โดยอาการภายนอกจะมีเหงื่อออก มือเท้าสั่น เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ และอาจมีหน้ามืดหมดสติได้ด้วยเช่นกัน หากพบอาการเหล่านี้ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นผลพวงมาจากปริมาณไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ควรได้รับการตรวจโดยเร็วที่สุด
แนวทางการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างควบคู่กันก็คือการรักษาด้วยยาทาน และการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยตัวยาที่นำมาใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงมีทั้งหมด 3 กลุ่มคือ
- ยาที่มีคุณสมบัติในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันเลว LDL เช่น ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrates)
- ยาที่มีคุณสมบัติในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล เช่น ยาสเตติน (Statins), ยากลุ่มอนาล็อก (Analogue) และยากรดนิโคตนิก (Nicotinic Acid)
- ยากลุ่มโปรตีเนสอินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor) เป็นตัวเดียวกันกับยาที่ใช้รักษาโรค HIV
ส่วนในการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ลดการทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ ขนมจุกจิกที่มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำ เน้นทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละ ที่สำคัญต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ร่างกายสามารถเผาผลาญไขมันในเลือดส่วนเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมในการทานอาหารที่ไม่ค่อยเลือกทาน เช่น ขนมจุบจิบ เบเกอรี่ที่มีเนยเยอะๆ การทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันเยอะ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือแม้กระทั่งพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราเข้าสู่ภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะดูตัวเล็กก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นได้เช่นกัน ดังนั้นการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดคือวิธีที่สามารถบ่งชี้ตัวคุณได้ชัดเจนที่สุด สำหรับใครที่กำลังมองหาบริการไขมันในเลือดที่ Trin Wellness พร้อมรับตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษากับพวกเราผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันที
Leave a reply
Leave a reply