ทำความรู้จักภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตคู่มาก ๆ เนื่องจากคู่รักคนไทยทุกวันนี้ มีภาวะมีลูกยากเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และสุขภาพเป็นอย่างมาก จนไม่อาจมองข้ามการศึกษาภาวะมีลูกยากได้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนสร้างครอบครัว อยากศึกษาข้อมูลอาการ วิธีรักษา วิธีการป้องกัน ไม่ให้เป็นกลุ่มเสี่ยงมีลูกยาก สามารถอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่ 

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร

Infertility หรือที่เรียกว่า ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิดใด ๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลานานมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่มีบุตร แพทย์จะสันนิษฐานว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมีบุตรยาก ซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง สำหรับหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีลูกยากเช่นกัน 

ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร

ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร

ภาวะมีบุตรยาก หลายคนมักจะคิดว่าเกิดได้แค่เพศหญิงอย่างเดียว ทว่าในความเป็นจริงความเสี่ยงมีบุตรยากเกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยปกติแล้วภาวะที่มีบุตรยาก มักจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเริ่มมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากมีการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น ยิ่งเป็นส่วนกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเสื่อมมากยิ่งขึ้น ในส่วนของสาเหตุเพิ่มเติมที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก มีรายละเอียดต่อไปนี้ 

สาเหตุจากฝ่ายชาย 

ภาวะมีบุตรยากในเพศชายเป็นสิ่งที่ถูกละเลยอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการมีบุตรยากเกิดจากความไม่พร้อมของร่างกายเพศหญิงฝ่ายเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้วเพศชายก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีบุตรยากได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ที่แพทย์วินิจฉัยพบ มี 8 ปัจจัย ต่อไปนี้

  1. ปริมาณอสุจิน้อยเกินไปหรือบางคนตรวจไม่พบอสุจิเลย ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ ซึ่งการตรวจปริมาณอสุจิ แพทย์นำน้ำอสุจิไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อวิเคราะห์ ตัวอสุจิ ความเร็วในการเคลื่อนที่ รูปร่างที่สมบูรณ์และความเข้มข้น หากทั้งหมดผิดปกติจริง ถึงยืนยันได้ว่าอสุจิผิดปกติ
  2. การติดเชื้อบางชนิดที่ระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอสุจิที่แข็งแรง และสมบูรณ์ออกมาได้ จึงเกิดภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน
  3. ร่างกายมีฮอร์โมนเพศต่ำเกินไป ทำให้ลูกอัณฑะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอสุจิจึงลดลงได้
  4. ท่อสำหรับลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิผิดปกติ หรือโปร่งพอง ทำให้การเคลื่อนที่ของอสุจิมีสิ่งกีดขวางจนเคลื่อนที่ได้ไม่ดี ทำให้ปริมาณอสุจิที่ส่งไปยังรังไข่ของเพศหญิงลดลง
  5. ขาดสารอาหารที่กระตุ้นให้อสุจิแข็งแรง เช่น Folic Acid หรือ Lycopene
  6. ปัญหาสุขภาพเป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
  7. การหลั่งเร็วเกินไป เป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม ปกติการหลั่งอสุจิที่ดี จะต้องอยู่ในช่วง 5-7 นาทีขึ้นไป หากอยู่ในช่วง 1-2 นาที ถือว่า มีภาวะการหลั่งเร็ว
  8. การไม่ดูแลสุขภาพ ด้วยการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ไม่เต็ม เกิดความเสี่ยงภาวะมีบุตรยากขึ้นได้เช่นกัน

สาเหตุจากฝ่ายหญิง

ภาวะมีบุตรยาก ในเพศหญิงเป็นที่พูดถึงกันมากที่สุด ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะมีลูกยาก ไม่ได้เยอะเท่าเพศชาย โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ 4 ปัจจัย ต่อไปนี้

  1. ภาวะไข่ตกผิดปกติ หรือที่เรียกว่า Anovulation เป็นอาการที่ผู้หญิงไม่มีไข่ตก โดยปกติแล้ว เพศหญิงจะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน เมื่อไข่ไม่มีการปฏิสนธิกับอสุจิ ก็จะสลายออกมาเป็นประจำเดือน แต่หากไข่ไม่ตก อสุจิก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่เพื่อสร้างตัวอ่อนของทารกได้ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้นั้นเอง ข้อสังเกต คือ ถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรรีบตรวจสุขภาพทันที
  2. ท่อนำไข่ผิดปกติ  ไข่จึงไม่สามารถเคลื่อนที่มารอการปฏิสนธิได้ ทำให้มีความเสี่ยงมีลูกยาก
  3. มดลูกผิดปกติ ด้วยความที่มดลูกเป็นบริเวณฝังตัวของตัวอ่อน หากมดลูกผิดปกติจะส่งผลกระทบให้การปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนไม่สำเร็จ จึงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
  4. วัยหมดประจำเดือน เมื่อไม่มีประจำเดือน นั้นหมายถึง ร่างกายไม่ผลิตไข่ออกมาแล้ว ทำให้ขั้นตอนการปฏิสนธิไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น

ภาวะมีบุตรยากแบบไม่มีสาเหตุ

ภาวะมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่พบ ในประเทศไทยมีคู่สมรสมากถึง 10% ที่มีบุตรยาก แต่ตรวจหาสาเหตุไม่ได้ แม้ว่าจะตรวจร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายแล้ว กลับพบว่าระบบสืบพันธุ์ปกติ ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ที่ส่งผลให้มีลูกยาก ในกรณีนี้ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไข เพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตรได้ในอนาคต 

คัดกรองภาวะมีบุตรยากด้วยการตรวจฮอร์โมน

คัดกรองภาวะมีบุตรยากด้วยการตรวจฮอร์โมน

ภาวะมีบุตรยาก สามารถคัดกรองได้ด้วยการตรวจฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัย สามารถระบุสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในเพศชายได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งการตรวจฮอร์โมนเพศ จะมีฮอร์โมนหลัก ๆ 4 ชนิด ที่แพทย์จะนำไปตรวจสอบ ซึ่งมีดังนี้

  1. Luteinizing Hormones หรือ LH เป็นฮอร์โมนที่อยู่ภายในต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศชาย และผลิตอสุจิออกมา
  2. Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ LH เปลี่ยนฮอร์โมนแอนโดรเจนส่วนใหญ่ให้เป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และทำหน้าที่ควบคุมการผลิตอสุจิ
  3. Estradiol หรือ E2 เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและที่ลูกอัณฑะ หากเพศชายมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำเกินไป จะส่งผลให้เป็น “หมัน” ไม่สามารถมีบุตรได้
  4. Testosterone เป็นฮอร์โมนหลักในเพศชายที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบสืบพันธุ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ หากฮอร์โมนดังกล่าวผิดปกติ ส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้

สำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนมีบุตร แนะนำควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงของการมีบุตรยากก่อน เพื่อหาทางรักษาได้ทันเวลา เพิ่มโอกาสที่จะมีบุตรได้ในอนาคตได้ไม่ยาก หากไม่รู้ว่าจะตรวจที่ไหนดี TRIN WELLNESS เรามีบริการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชาย พร้อมแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลยิ่งขึ้นด้วยวิธีดูแลสุขภาพที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่สมดุล แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากได้แน่นอน

Leave a reply