รู้จักกับภาวะความดันต่ำ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ค่าความดันโลหิตถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าภาวะความดันสูงส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง แต่รู้หรือไม่ว่าการที่คุณมีความดันต่ำก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องดีเช่นกัน เพราะเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าสุขภาพโดยรวมของเรากำลังอ่อนแอ เพื่อให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความดันต่ำมากขึ้น Trin Wellness จะมาอธิบายให้คุณได้เข้าใจว่าภาวะนี้เกิดขึ้นอย่างไร ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง และสามารถป้องกันได้อย่างไร?

ภาวะความดันต่ำคืออะไร?

ความดันต่ำคือภาวะที่ความดันโลหิตของคนเราต่ำกว่ามาตรฐาน โดยแบ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ไม่เกิน 60 ปีควรมีค่าความดันไม่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไปต้องไม่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท สามารถพบภาวะนี้ได้ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอจากภาวะต่าง ๆ รวมไปถึงผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติที่เคยเป็นภาวะความดันต่ำ

ลักษณะอาการเมื่อเกิดภาวะความดันต่ำ

  • มีอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้
  • เกิดอาการหน้ามืดเป็นลม
  • รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีสมาธิ
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี
  • กระหายน้ำและปัสสาวะน้อย
  • หายใจลำบากและแน่นหน้าอก
  • ตัวเย็น มือเท้าเย็นและผิวซีด
  • อาจเกิดภาวะช็อกได้หากมีภาวะความดันต่ำระดับรุนแรง ทำให้เกิดอาการข้างเคียงทั้งชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว อ่อนแรง และตัวเย็น

สาเหตุของภาวะความดันต่ำ

ภาวะความดันต่ำสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนี้

  • ความดันต่ำจากการลุกนั่งแบบกะทันหัน การก้มเงยศีรษะอย่างรวดเร็ว ทำให้ความดันในการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองไม่คงที่และลดระดับลงอย่างรวดเร็ว
  • การเสียเลือดปริมาณมากแบบกะทันหัน เช่น จากอุบัติเหตุ จากอาการของโรคเรื้อรัง บาดแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • เกิดจากภาวะขาดสารอาหารจำเป็นอย่าง วิตามินบี วิตามินซี และโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ใช้ในการบำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย มีกระทบทำให้ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง
  • เกิดจากภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะจากอาการอาหารเป็นพิษที่มีการถ่ายและอาเจียนหลายครั้ง
  • เกิดจากโรคประจำตัวอย่าง โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง รวมถึงภาวการณ์ตั้งครรภ์ของผู้หญิงด้วยเช่นกัน
  • ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางชนิด

ความดันต่ำส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร?

ภาวะความดันต่ำส่งผลร้ายต่อร่างกายรอบด้านไม่ว่าจะเป็น ระบบไหลเวียนโลหิตที่สามารถส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ช้าและปริมาณที่น้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะสมองและหัวใจที่อาจขาดออกซิเจนและเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดได้มากกว่าปกติ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดส่งผลต่อเนื่องถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจทำให้เดินเท้าไม่สะดวกจนเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การหกล้มเพราะหน้ามืด เป็นลมหมดสติในระหว่างเดินทาง เป็นต้น

แนวทางการป้องกันภาวะความดันต่ำ

  • เริ่มต้นจากปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารและแร่ธาตุจำเป็นอย่างครบถ้วน และมากพอที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานนะส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผักและผลไม้ควรรับประทานให้มากขึ้นสำหรับผู้ที่ทานผักน้อย
  • หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงโดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ ให้มีความสมดุลและช่วยรักษาความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยใน 1 สัปดาห์ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน ตกวันละ 30-60 นาที ถือว่ากำลังดี
  • พักผ่อนให้เพียงพอพยายามนอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน หากนอนหลับไม่เพียงพอมีผลทำให้ความดันต่ำในระหว่างวัน ที่สำคัญการพักผ่อนร่างกายให้ครบถือเป็นการช่วยฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ดี
  • เลี่ยงการลุกนั่งหรือเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว และไม่ควรยืนนานจนเกินไป

สรุปเกี่ยวกับภาวะความดันต่ำ

การรักษาสุขภาพให้ดีมีความสมดุลคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดมีค่าความดันคงที่ตามเกณฑ์มากที่สุด ซึ่งส่งผลดีต่อระบบการทำงานและอวัยวะทุกส่วนในร่างกายเป็นอย่างมาก ทำให้เราห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังช่วยให้สมองปลอดโปร่งสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อความสบายใจทุกคนควรได้รับการตรวจร่างกายและ ตรวจไขมันในเลือดเป็นประจำทุกปีเพื่อให้คุณสามารถวางแผนการดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่ ปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลร่างกายและการตรวจเช็กสุขภาพกับ Trin Wellness ได้จาก เว็บไซต์หรือโทร 0972655994 ได้ทันที

Leave a reply