เช็กลิสต์ 11 อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นผู้ชายวัยทอง พร้อมวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง
หากพูดถึงอาการวัยทอง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการวัยทองในผู้หญิงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในผู้ชายก็มีอาการวัยทองเหมือนกัน และวัยทองในผู้ชายก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับอาการวัยทองในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ดร. ตฤณ เวลเนส คลินิก จะพาไปคุณทำความรู้จักกับผู้ชายวัยทอง พร้อมคำแนะนำการดูแลผู้ชายวัยทอง จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย
ผู้ชายวัยทอง คืออะไร?
ผู้ชายวัยทอง หรือที่ในทางการแพทย์เรียกว่า “แอนโดรพอส (Andropause)” คือ กลุ่มอาการที่ร่างกายและจิตใจของผู้ชายถดถอยลง โดยจะมีความสัมพันธ์กับการที่ระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกายอย่างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีระดับลดลง
อาการวัยทองในผู้ชายนั้น จะพบในผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยหลังจากช่วงอายุ 40 ปีเป็นต้นไป ร่างกายของผู้ชายจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้น้อยลง ลดลงอย่างช้า ๆ ประมาณปีละ 1% และถ้าหากเป็นคนที่ไม่ค่อยดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งลดลงเร็วกว่าคนอื่น ๆ
เช็กลิสต์ 11 อาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ชายวัยทอง
สำหรับผู้ชายท่านใดที่สงสัยว่าตนเองมีอาการวัยทองไหม สามารถเช็กลิสต์ได้จากอาการเหล่านี้เลย!
- อ้วนลงพุง
- นอนไม่หลับ
- กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
- ผมบาง
- เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง
- ผมบาง
- มีอาการซึมเศร้า หรือเครียด หรือหงุดหงิดง่าย
- นอนไม่หลับ
- รู้สึกเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว
- ความต้องการทางเพศลดลง มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- เบื่ออาหาร
ปัจจัยที่ทำให้เป็นผู้ชายวัยทองไวกว่าปกติ
นอกจากอายุที่เป็นปัจจัยธรรมชาติในการทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และทำให้เข้าสู่วัยทองไวกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็น พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก มีความเครียดมาก มีความวิตกกังวล ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคตับ โรคไตวาย หรือโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
แนะนำวิธีการดูแลผู้ชายวัยทองอย่างเหมาะสม
การรับมือกับผู้ชายวัยทองนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่คุณเปิดใจและพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสม ก็จะช่วยยืดความเป็นหนุ่มได้นานมากขึ้น โดยวิธีการดูแลผู้ชายวัยทองอย่างเหมาะสม มีดังนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นอาหารที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่แดง แตงโม หรือหอยนางรม
- รับประทานอาหารที่มี กรดอะมิโน แอล-อาร์จินิน (L-arginine) ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น และทำให้น้องชายแข็งตัวได้นานขึ้น เช่น ทูน่า ปลาแซลมอน กุ้ง ปู พืชตระกูลถั่ว ผักโขม ไข่แดง
- รับประทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงสุขภาพทางเพศ เช่น ซิงค์ วิตามินบี วิตามินซี โครเมียม โฟลิก หรือสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ใบแป๊ะก๊วย หรือโสมเกาหลี
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง (Weight training) เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง
- พยายามจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองให้ดี คิดบวก และไม่ปล่อยให้ตัวเองเครียดจนเกินไป
- เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย ตรวจฮอร์โมนเพศชาย และรับฮอร์โมนทดแทนในระดับที่เหมาะสมกับตนเอง
สรุปเรื่องผู้ชายวัยทอง
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับผู้ชายวัยทองที่เรานำมาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยให้คุณสามารถสังเกตอาการของตนเอง และรับมือกับอาการวัยทองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม และสำหรับท่านใดที่สนใจตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย และรับการดูแลผู้ชายวัยทองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็สามารถติดต่อนัดหมายเข้ามาพบแพทย์ที่ ดร. ตฤณ เวลเนส คลินิก ได้เลย แพทย์ของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลปัญหาของผู้ชายอย่างมาก ทุกเคสให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เคสบายเคส มั่นใจได้เลยว่าไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน!
Leave a reply
Leave a reply