ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI หรือ การตรวจ ABI เป็นการตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนเลือด เพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)  โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง สารโลหะหนัก รวมถึงแคลเซียมและเกล็ดเลือด ซึ่งจะไปเกาะตัวบริเวณผนังหลอดเลือดแดง เรียกว่า ก้อนพลาค (plaque) ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการอักเสบและหนาตัวขึ้น จนเส้นทางการไหลเวียนเลือดเกิดการตีบแคบ ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI ย่อมาจาก Ankle-Brachial Index เป็นการตรวจความดันเลือดบริเวณข้อเท้า (Ankle) และแขน (Brachial) ซึ่งเครื่องมือจะมีเซนเซอร์วัดความดัน ที่แขนและขาทั้ง 4 ข้าง ได้ค่าออกมาเป็นตัวเลข index โดยปกติการไหลเวียนเลือดที่แขนและขาจะสมดุลกัน หากมีความผิดปกติของหลอดเลือดเกิดขึ้น ค่าจากการตรวจ ABI ที่ได้ไม่อยู่ในช่วงปกติ (normal) ที่เครื่องคำนวณได้

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI  สามารถใช้ประเมินอายุของหลอดเลือดเทียบกับอายุจริง อีกทั้งยังบ่งบอกความแข็งของหลอดเลือดแดง (Arterial stiffness) หรือ baPWV (cm/s) ได้อีกด้วย โดยในแต่ละช่วงอายุก็จะมีค่าความแข็งของหลอดเลือดแดง แตกต่างกันออกไปดังรูป (รูปที่ 1) นอกจากนี้การตรวจ ABI ยังประเมินความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และช่วยประเมินโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบได้อีกด้วย

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI สามารถบ่งบอกถึงภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)  ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขา ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการมีไขมัน สารพิษโลหะหนัก สะสมตามผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดขา ปวดน่อง เวลาที่เดิน เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอนั่นเอง จึงควรเข้าพบแพทย์ทำการวินิจฉัยสุขภาพหลอดเลือดด้วยการตรวจ ABI เพื่อหาสาเหตุ และวิธีรักษาอย่างตรงจุด

ค่าที่ได้จากการตรวจ ABI จะออกมาเป็นตัวเลข Index ดังนี้

ABI ≤ 0.90             มีความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)  

0.91 ≤ ABI ≤ 1.40        ปกติ

1.40 < ABI             ภาวะที่ไม่สามารถบีบตัวได้ของหลอดเลือดแดง เนื่องจากเส้นเลือดแข็งตัว (arterial compression difficulty)

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI นั้นทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และให้ความแม่นยำสูงต่อการภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)  

  •  มีความไว (sensitivity)                90%
  • มีความจำเพาะ (specificity)         98%

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลอดเลือดแดงด้วย ABI

  • ประเมินการอุดตันและความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง
  • วินิจฉัยภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)  
  • ประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต 
  • ประเมินความคืบหน้าของการรักษา
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • มีอาการ ปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ขณะเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ที่เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน
  • ผู้ที่ตรวจพบสารในเลือดสูง เช่น สารพิษโลหะหนัก โฮโมซีสทีน (Homocysteine) คอลเลสเตอรอล (cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เป็นต้น
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือ ดื่มแอลกอฮอร์ เป็นประจำ หรือต่อเนื่องมานานมากกว่า 10 ปี
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงจากพันธุกรรม หรือประวัติครอบครัวมีโรคหัวใจและหลอดเลือด