อาการวัยทองผู้ชาย หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า แอนโดรพอส (Andropause) คือ กลุ่มผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีความสัมพันธ์กับการที่ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในร่างกายจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ผมร่วง อ้วนง่าย ลงพุง รวมถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในระบบร่างกาย และจิตใจ
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggle
มีอาการอ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ มีการสะสมไขมันหน้าท้อง จนทำให้อ้วนลงพุง ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีแรง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มลดลง กล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดขนาดลง อาการวัยทองปวดเมื่อย ตามตัวโดยไม่มีสาเหตุ ข้อ และมวลกระดูกลดลงอย่างต่อเนื่อง กระดูกเปราะบางลง เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ เช่นเดียวกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
และผลจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำนั้น ทำให้มีการเพิ่มระดับไขมันคอเลสเตอรอล แอลดีแอลคอเรสเตอรอล (LDL Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จนมีการสะสม และอุดตันหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น เลือดไหลเวียนผ่านได้น้อยลง อาจเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม โรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น
ขาดสมาธิในการทำงาน ความจำลดลง โดยเฉพาะความจำระยะสั้น มีอาการซึมเศร้า เหงา เบื่อหน่าย เฉื่อยชา ไม่มีแรงจูงใจในการทำอะไร ตื่นตกใจง่าย เครียดและหงุดหงิดง่าย ขี้บ่น และขี้น้อยใจเพิ่มขึ้น
บางรายอาจมีอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flash) เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว มีอาการเหงื่อออกมาก หรือชีพจรเต้นเร็ว
เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เพศ เมื่อระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง จึงไม่เกิดอารมณ์ทางเพศ และอวัยวะเพศไม่แข็งตัว และการหลั่งน้ำอสุจิลดลงทั้งปริมาณและความถี่
วัยทองผู้ชาย พบมากถึง 75% โดยครึ่งหนึ่งของอาการวัยทองผู้ชายนั้นจะเป็นมากถึงขั้นต้องพบแพทย์ ผู้ชายวัยทอง มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าผู้หญิงวัยทอง และการวินิจฉัยวัยทองผู้ชายทำได้ยากกว่าวัยทองผู้หญิง
ไม่เพียงแต่ วัยทองอายุ เลข 4 แต่วัยทองอายุ เลข 3 ก็สามารถเข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควรได้ แต่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะอาการวัยทองผู้ชายรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยแพทย์เฉพาะทางและเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์
- การทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่
- ความอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่ม
- โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ ไตวาย
- การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และความแข็งแรงของหัวใจเช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ตีสควอช และเวทเทรนนิ่ง
- ปรับสมดุลอารมณ์ ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คิดบวก และจัดการกับอารมณ์หงุดหงิด รวมถึงไม่เก็บตัว พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ทำจิตใจให้แจ่มใส ทำกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดภาวะเครียดเมื่อต้องอยู่คนเดียว
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
- ควรเลี่ยงอาหารไขมันสูงและมีรสหวานจัด โดยเน้นรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศ เช่น ปลาแซลมอน พืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว ไข่แดง แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง และหอยนางรม ซึ่งมีแร่ธาตุสังกะสีสูง (ผู้มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงควรระวังในการรับประทาน)
- รับประทานพืชผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- ตรวจร่างกายและตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศว่าลดลงมากน้อยเพียงใด มีความรุนแรงในระดับใด
หากมี อาการวัยทอง หรือข้อสงสัย ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิดซึ่งวิธีรักษาอาการวัยทองผู้ชายนั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การฟื้นฟูจิตใจไปจนถึงการใช้ยา มีทั้งยาทาน ยาทา และยาฉีด