ตรวจหลอดเลือด ประเมินความเสี่ยงโรค เช็กคุณภาพหลอดเลือดก่อนสาย

โรคหลอดเลือดอักเสบ เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดภายในร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดหัว เป็นไข้ มีผื่นหรือจ้ำแดงขึ้นตามร่างกาย

โรคหลอดเลือดสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ โดยสาเหตุของโรคมักมาจากการอักเสบของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบ บาง หรือแข็ง สำหรับการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และโรคที่เป็นสาเหตุ หากเรามีการ ตรวจสุขภาพหลอดเลือด อย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

ตรวจหลอดเลือด เพื่อค้นหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดแข็งตัว การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด การอักเสบหรือติดเชื้อของหลอดเลือด หรือจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอวัยวะส่วนขา เป็นได้ทั้งชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน มักมีอาการขาชา เท้าเย็น ปวดขา บางคนอาจมีอาการปวดรุนแรงจนต้องหยุดเดิน หรือเนื้อเยื่อตายและไม่สามารถคลำชีพจรที่ขาได้  ซึ่งเส้นเลือดแดงที่ขาเป็นอีกจุดที่เกิดการตีบตันได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอ้วน จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตันได้ง่าย

การ ตรวจสุขภาพหลอดเลือด หรือ ตรวจอายุหลอดเลือด จะช่วยให้รู้ทันความเสี่ยงและแนวโน้มการตีบตันที่อาจเกิดขึ้น ทำให้รักษาได้ทันท่วงทีก่อนสายเกินแก้

ตรวจหลอดเลือด สมรรถภาพการไหลเวียน ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด ABI

การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หรือ การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index : ABI) ที่เรียกว่าสั้นๆ ว่าการ ตรวจ ABI เป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย ตรวจอายุหลอดเลือด วินิจฉัยเบื้องต้นสำหรับโรค โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือมีแผลเบาหวาน แผลเรื้อรัง เป็นต้น

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ขา ทำได้โดยการวัดดัชนีความดันที่ข้อเท้า เปรียบเทียบกับค่าความดันของแขนในแต่ละข้าง เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้นๆ หรือไม่ หากพบว่ามีอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ขณะเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการ ตรวจสุขภาพหลอดเลือด หรือ ตรวจ ABI วินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การรักษาอย่างตรงจุดและทันท่วงที

โดยการ ตรวจ ABI มีลักษณะเหมือนการตรวจวัดความดันโลหิตทั่วไป ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ให้ความแม่นยำสูง และไม่มีความเสี่ยงหรือได้รับความเจ็บปวดในขณะตรวจ

ตรวจหลอดเลือด ตรวจ ABI มีประโยชน์อย่างไร ?

  • วินิจฉัย หรือค้นหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันที่ขาในระยะแรกๆ ที่มักพบบ่อยร่วมกับการอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดน่อง และเป็นตะคริว
  • การตรวจเบื้องต้นที่สามารถนำไปสู่การค้นหาโรคสำคัญอื่นๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ
  • ช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจในอนาคต
  • ประเมินระดับความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือด

ใครที่ควรรับการ ตรวจหลอดเลือด ABI

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือสูบบุหรี่มากกว่า 10 ปี
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เช่น ภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระดับของสารบางอย่างในเลือดสูง เช่น โฮโมซีสทีน (Homocysteine) และ ไลโพโปรตีน (Lipoprotein)
  • ผู้ที่ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง

การแปลผล ตรวจหลอดเลือด ABI

ค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง หรือ ค่า ABI โดยค่าปกติของ ABI ควรมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0-1.1 หากค่า ABI ที่ได้มาน้อยกว่า 0.9 ถือว่าเป็นค่าผิดปกติ บ่งชี้ว่ามีการอุดตันในหลอดเลือดแดงที่ขา ณ. ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งค่ายิ่งน้อยก็ยิ่งบ่งบอกว่ามีการอุดตันในหลอดเลือดสูงมากขึ้นเท่านั้น

โดยผู้ที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.9 จะได้รับคำแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดเพื่อทำการรักษา ในกรณีที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.5 แสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือดที่ขาในหลายระดับ ต้องได้รับการตรวจหลอดเลือดที่ขาเพิ่มเติมด้วยการฉีดสีเพื่อดูว่าหลอดเลือดมีการอุดตัน ณ ตำแหน่งใดเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป และหากค่า ABI ต่ำกว่า 0.3 แสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือดที่ขาขั้นรุนแรง ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบทำการรักษาทันที

ตรวจหลอดเลือด อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ESR

Erythrocyte sedimentation rate หรือการ ตรวจ ESR คือ อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง เป็นการตรวจที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของการอักเสบ การรายงานจะเป็น mm/h เชื่อว่าเมื่อมีการอักเสบจะมีการสร้าง Fibrinogen ซึ่งจะทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะติดกันทำให้ตกตะกอนได้เร็ว ค่า ESR เป็นการแสดงค่าไม่จำเพาะสำหรับสาเหตุการเกิดโรคและอวัยวะ แพทย์จะทำการ ตรวจ ESR ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจอื่นๆ นั้นก็จะขึ้นกับอาการที่คุณมี นอกจากนั้นการตรวจนี้ยังอาจจะใช้ติดตามโรคที่มีการอักเสบก็ได้

 

ในการทดสอบนี้จะต้องใช้การเจาะเลือดก่อนนำไปดูอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือด การอักเสบในร่างกายนั้นจะทำให้มีโปรตีนผิดปกติเกิดขึ้นในเลือด ซึ่งอาจทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นเกาะตัวกันและตกตะกอนเร็วกว่าปกติ

การแปลผล ตรวจหลอดเลือด ESR

ค่า ESR ที่ผิดปกตินั้นไม่สามารถวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งได้ เพียงแต่บอกว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย อาจไม่ได้แม่นยำหรือมีความหมายเสมอไป มีหลายปัจจัย เช่น อายุหรือยาที่ใช้ ซึ่งสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้

ผลที่ผิดปกตินั้นอาจจะไม่ได้บอกว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น แต่จะบอกว่าต้องทำการตรวจอะไรเพิ่มเติม แพทย์อาจทำการตรวจ ESR ซ้ำหากค่า ESR ที่ได้นั้นสูงหรือต่ำเกินไป

ผล ตรวจ ESR นั้นจะวัดในหน่วยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง

  • ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
  • ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 15 mm/hr
  • ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 30 mm/hr
  • ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
  • เด็กแรกเกิดควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 2 mm/hr
  • เด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์นั้น ควรมีค่า ESR อยู่ระหว่าง 3-13 mm/hr

ค่า ESR ที่สูง มีหลายสาเหตุที่ทำให้ค่า ESR นั้นสูง เช่น

  • ภาวะซีด
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • Multiple myeloma
  • อายุมาก
  • ตั้งครรภ์
  • Temporal arteritis
  • โรคของต่อมไทรอยด์
  • Waldenstrom’s macroglobulinemia
  • โรคข้ออักเสบบางชนิด

ค่า ESR ที่ต่ำนั้นอาจจะหมายถึง

  • หัวใจวาย
  • Hypofibrinogenemia
  • เม็ดเลือดขาวมาก
  • มีโปรตีนในเลือดต่ำ
  • ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

บางสาเหตุที่ทำให้เกิดค่า ESR ผิดปกตินั้น อาจจะรุนแรงกว่าสาเหตุอื่นๆ แต่สาเหตุส่วนมากนั้นไม่น่ากังวล ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลมากเกินไปหากมีผลการ ตรวจ ESR ที่ผิดปกติ แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลการตรวจที่ผิดปกติ

ตรวจหลอดเลือด ค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ CRP

การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการตอบสนองต่ออาการอักเสบ การติดเชื้อ หรือการเสื่อมสภาพของเซลล์ภายในร่างกาย เพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ การอักเสบของหลอดเลือดสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ นอกจากนี้ภาวะความเครียด การรับมลพิษ มลภาวะ หรือสารเคมีต่างๆ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งอยู่ในกิจวัตรประจำวันของใครหลายคน ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้เช่นกัน

เป็นการ ตรวจ CRP หรือการตรวจหาระดับโปรตีนที่มีชื่อว่า C-reactive protein (CRP) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้าง ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของเรา แต่ละคนมีระดับ CRP ไม่เท่ากัน หากเซลล์อักเสบอย่างต่อเนื่องระดับ CRP ก็จะสูงตาม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและพัฒนาไปสู่โรคร้ายหลายๆ ชนิดได้ เช่น มะเร็ง การเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหัวใจ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

การ ตรวจ CRP : C-reactive protein จึงเป็นการตรวจหาว่ามีการอักเสบใน ร่างกายหรือไม่ แต่การตรวจนี้บอกเพียงว่ามีการอักเสบ แต่ไม่ได้ บอกสาเหตุหรืออวัยวะที่เกิดการอักเสบ และไม่สามารถบอกว่า ภาวะนั้นเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังจำเป็นต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจอื่นๆประกอบ

โดยการอักเสบของหลอดเลือด สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงในภายหลังได้มากมาย เช่น

  • การติดเชื้อที่ปอด ตับ ลำไส้
  • โรคไต
  • โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

การแปลผล ตรวจหลอดเลือด C-reactive protein (CRP)

ค่าปกติ : น้อยกว่า 0.1 mg/dL หรือน้อยกว่า 1 mg/L

น้อยกว่า 1.0 mg/L = ความเสี่ยงต่ำ

1.0 to 3.0 mg/L = ความเสี่ยงโดยเฉลี่ย

มากกว่า 3.0 mg/L = ความเสี่ยงสูง

ภาวะหลายประการสามารถเปลี่ยนแปลงระดับ C-reactive protein (CRP) ได้ เช่น ภาวะใดๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อกะทันหันหรือรุนแรงอาจเพิ่มระดับ C-reactive protein (CRP) ได้ หรือ ยาบางประเภทอาจลดระดับ C-reactive protein (CRP) โดยแพทย์จะแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับผลการตรวจที่ผิดปกติใดๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการและสุขภาพในอดีต และความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจ 

โดยเฉพาะเมื่อเกิดร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น คอเลสเตอรอล อายุ ความดันโลหิต และการสูบบุหรี่ การตรวจนี้อาจดำเนินการเพื่อดูว่าคุณมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจแบบกะทันหันมากขึ้นหรือไม่ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง แต่ความเชื่อมโยงกันระหว่างระดับ C-reactive protein (CRP) ที่สูงและโรคหัวใจอาจยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ทำไมต้อง ตรวจหลอดเลือด ที่ Doctor Trin Wellness

ที่ Doctor Trin Wellness เรามีโปรแกรม ตรวจหลอดเลือด เพื่อให้ผู้เข้ารับการบริการที่มีความเสี่ยง สามารถป้องกัน และดูแลสุขภาพตัวเอง หรือหาแนวทางการรักษาได้อย่างทันท่วงที อาธิ

ตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หรือ การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index : ABI)

ตรวจการอักเสบหลอดเลือด หรือ อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate : ESR)

ตรวจหาระดับการอักเสบของหลอดเลือด และอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (C-Reactive Protein: CRP)

ติดต่อเรา 097 265 5994

We will contact you within one business day.