ในทุกวันเราต้องเผชิญมลภาวะและสารพิษมากมาย ทำให้ร่างกายรับสารพิษเข้ามาโดยไม่รู้ตัว เช่น สารพิษจากสารเคมี เช่น สารปรุงแต่งอาหาร (ทั้งสี กลิ่น รส) ผงชูรส เครื่องสำอางค์ เช่น แชมพู ยาย้อมผม ลิปสติก ยาทาเล็บ หรือ ยาแผนปัจจุบัน

สารพิษจากโลหะหนัก เช่น ควันรถ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว โลหะหนัก

สารพิษจากฟอร์มาลีน ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักและผลไม้ที่สดกรอบเกินไป ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงใส่อาหารร้อน หรือ เครื่องดื่มเมื่อร่างกายสะสมสารพิษมาก จะทำให้ร่างกายผลิตสารอนุมูลอิสระที่ส่งผลเสียต่อระบบทำงานของร่างกาย ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ให้การล้างสารพิษในหลอดเลือดด้วยคีเลชั่น (Chelation) คืออีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยให้สุขภาพของคุณกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์ได้

คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร ?

Chelation Therapy หรือ การทำคีเลชั่น คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด ผ่านทางน้ำเกลือ เป็นการล้างสารพิษหลอดเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยมีสารประกอบประเภทกรดอะมิโน ซึ่งเรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

EDTA ทำหน้าที่สำคัญในการล้างสารพิษและสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท  สารหนู หรือแม้แต่แคลเซียมส่วนเกินในร่างกายที่ตกค้างในเนื้อเยื่อและพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือด สามารถตรวจโลหะหนักในเลือดก่อนได้เพื่อวางแผนการล้างสารพิษด้วยคีเลชั่น (Chelation) แล้วขจัดออกผ่านทางปัสสาวะ ระหว่างที่ ทำคีเลชั่น สามารถพักผ่อน เล่นมือถือ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือฟังเพลงได้ปกติ ภายหลังเสร็จจาก การทำคีเลชั่น สามารถทำกิจกรรมต่างๆ หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โดย คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เป็นอีกหนึ่งวิธีการการดูแลรักษาผู้ที่มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ เพราะผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย

สัญญาณเตือน! อาการที่บ่งบอกว่าคุณควรทำ คีเลชั่น (Chelation)

  • ปวดศีรษะบ่อย หงุดหงิดง่าย
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ง่วงนอน สมาธิไม่ดี ความจำเสื่อม
  • ท้องผูกเรื้อรัง  ปากเหม็น กลิ่นตัวแรง
  • ปัญหาผิวพรรณ เช่น สิว ฝ้า
  • อ้วนง่าย ระบบเผาผลาญทำงานน้อยลง
  • เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ หรือ ผายลมบ่อยๆ
  • เป็นหอบหืด ภูมิแพ้ เป็นลมพิษง่าย
  • โรคผิวหนังเรื้อรัง ผื่นคัน เป็นแผล หรือ เป็นฝีบ่อยๆ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อและกระดูก หรือโรครูมาตอยด์

คีเลชั่น (Chelation) เหมาะกับใคร ?

  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ ป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งและโรคเส้นเลือด ตีบตัน รวมทั้งต้องการกำจัดสารพิษและโลหะหนักออกจากตัวและ ต้องการรักษาสภาพของเส้นเลือดทั่วตัว ไม่ให้เกิดการอุดตันในอนาคต
  • ผู้ที่มีได้รับความเสี่ยงสะสม หรือ ปัญหาสารพิษ โลหะหนัก หรือสารเคมีเป็นประจำ
  • ผู้ที่รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียลง ไม่สดชื่น นอนไม่หลับ หรือ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง มีอาการ เช่น เวียนหัวง่าย ฯลฯ
  • ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ที่เกิดจากพิษของโลหะหนัก เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการกินไม่เหมาะสม เช่น ชอบกินอาหารรสหวานจัด มันจัด เนื้อสัตว์ ของทอด อาหารปิ้งย่าง
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ หรือเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตร
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด เช่น อุดฟันด้วยโลหะ อมัลกัม มีไขมันในเส้นเลือดสูง มี oxidative stress (ระดับอนุมูลอิสระสูง) เช่น ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือคนในบ้านในที่ทำงานสูบ ฯลฯ
  • ผู้ที่ทำบอลลูนเส้นเลือด,ใส่ขดลวด,ทำบายพาส เพื่อลดปัญหาเกิดการอุดตันใหม่

ประโยชน์ของการทำคีเลชั่น (Chelation)

การทำคีเลชั่น (Chelation) เพื่อล้างสารพิษในหลอดเลือดคือการดีท็อกล้างสารพิษที่มอบประโยชน์ให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการช่วยระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดในตำแหน่งสำคัญอย่างสมองและหัวใจ และมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น

  • ลดความดันโลหิตให้มีอัตราการไหลเวียนตามปกติ
  • ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ และลดระดับไขมันในเลือดไ
  • ช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด ทำให้ประสาทการรับรู้ต่าง ๆ ดีขึ้น
  • ช่วยลดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง และอาการมือเท้าชา
  • ช่วยบรรเทาอาการอัลไซเมอร์ และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ความจำดีขึ้น
  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
  • ช่วยฟื้นฟูผิวพรรณให้ดูกระจ่างใส ลดกลิ่นตัวและกลิ่นปาก
  • ล้างสารพิษและขับโลหะหนักในร่างกาย

ขั้นตอนการทำ คีเลชั่น (Chelation)

  1. แพทย์จะนำโปรตีนสังเคราะห์ที่เรียกว่า EDTA มาใส่ในสารน้ำพร้อมกับผสมวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด เพื่อไปไล่จับสารโลหะหนักออกไปจากร่างกาย
  2. จากนั้นจะให้สารน้ำนี้ทางหลอดเลือดดำ (IV Drip) เหมือนการให้น้ำเกลือทั่วไป 
  3. ในขณะการทำคีเลชั่น ผู้เข้ารับบริการสามารถทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นมือถือ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือ ฟังเพลง ฯลฯ ได้ 
  4. สาร EDTA ก็จะไปจับกับอนุภาคของโลหะหนักในร่างกาย ส่วนวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและผิวพรรณให้ดีขึ้น 
  5. จากนั้นสาร EDTA ที่จับกับโลหะหนัก และจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ

ข้อควรระวัง ในการทำ คีเลชั่น (Chelation)

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่อง
  • ผู้ที่มีภาวะไตบกพร่อง หรือ ไตวาย อาจไม่เหมาะกับ การทำ Chelation เนื่องจากร่างกายจะทำการล้างสารพิษขับสารโลหะหนักผ่านทางไต ซึ่งจะทำให้ไตทำงานเพิ่มขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือผู้ที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำ
  • ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
  • ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
  • ผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulation)
  • แม้อายุจะไม่เป็นอุปสรรคใดๆใน การทำคีเลชั่น แต่สำหรับผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อให้แพทย์พิจารณาความเหมาะสม กับสภาพร่างกายของผู้มารับบริการด้วย

การเตรียมตัวก่อน ทำคีเลชั่น (Chelation)

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยปรับสมดุลร่างกายก่อนทำ คีเลชัน
  • การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยให้วิตามินไหลเวียนได้อย่างดี
  • แจ้งโรคประจำตัว หรือ ยาที่รับประทานเป็นประจำ ให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
  • ประเมินสภาพร่างกายเบื้องต้น โดยการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับการทำงานของไต และระดับอิเลคโทรไลท์ต่างๆในกระแสเลือด
  • ในครั้งแรกก่อนเข้ารับบริการ แพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากผู้รับบริการ เพื่อนํามาตรวจหาแร่ธาตุจําเป็น และหาระดับของโลหะหนักที่เป็นพิษในทันที เพราะว่าจะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณของแร่ธาตุและโลหะหนักที่เป็นพิษในกระแสเลือด
  • งดรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีแร่ธาตุต่างๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน ก่อนทำการตรวจประเมินเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างปัสสาวะ

การดูแลหลังทำ คีเลชั่นบำบัด (Chelation)

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ควรดื่มน้ำให้มากๆหลังทำ หรือ ให้ดื่มน้ำหนึ่งออนซ์ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม
  3. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ หลังการทำ คีเลชั่นบำบัด

คีเลชั่น (Chelation) สามารถทำได้บ่อยแค่ไหน ?

หลังทำ คีเลชัน ในแต่ละครั้ง สามารถทำห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากต้องมีการควบคุมปริมาณยาให้เหมาะสม ทั้งนี้จำนวนครั้งในการทำของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดังนั้นจะขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมิน เพราะ การทำคีเลชั่น จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ปัญหา และผลลัพธ์ที่ได้หลังเข้ารับบริการของแต่ละคน