ข้อเข่าเสื่อม รู้ทันป้องกันได้ โรคข้อเข่าเสื่อม หาย ปวดเข่า ชัวร์!

ข้อเข่าเสื่อม หรือ โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่สำคัญ อาการข้อเข่าเสื่อม พบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะ เข่าเสื่อม มาก ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้มีความ เจ็บเข่า ปวดเข่า ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก ทำให้เกิดความทุกข์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากอะไร?

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อน ของข้อเข่า หรือผิวข้อสึกกร่อน เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการ เจ็บเข่า ปวดหัวเข่า

ปัจจัยและสาเหตุของ ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือไม่ทราบสาเหตุ

เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ อาการข้อเข่าเสื่อม ได้แก่

  • ปัจจัยทางด้านอายุ การเกิด โรคข้อเข่าเสื่อม จะพบมากตามอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมี เข่าเสื่อม อายุ 60 ปี เป็น เข่าเสื่อม ได้ถึงร้อยละ 40
  • ปัจจัยทางด้านเพศ อาการข้อเข่าเสื่อม พบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย 2 – 3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย
  • ภาวะอ้วน น้ำหนักตัวที่มากขึ้น เพราะน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับ เข่าเสื่อม ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากขึ้น พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1 – 1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกัน เซลล์ไขมันที่มากเกินไป จะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูกส่งผลให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อม เร็วขึ้น
  • ปัจจัยด้านการใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
  • ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
  • ปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ อาจมีคนในครอบครัวเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม ร่วมด้วย

ข้อเข่าเสื่อม ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น

  • เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ
  • การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา 
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ 

สัญญาณเตือนโรค ข้อเข่าเสื่อม

  1. ปวดเข่าผู้ป่วยมีอาการ ปวดข้อเข่า เป็นๆ หายๆ มามากกว่า 6 เดือน หรือมีอาการ ปวดหัวเข่า หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมที่มีแรงกดต่อผิวข้อเข่าเยอะๆ หรือเดินไกลๆ เช่น ตอนขึ้นลงบันได นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือตอนนั่งในรถที่แคบๆ แล้วต้องนั่งงอเข่าอยู่เป็นระยะเวลานานๆ หากเป็น ข้อเข่าเสื่อมอาการ ในระยะแรกๆ หลังทำกิจกรรมนั้นแล้ว อาการ ปวดข้อเข่า จะอยู่ไม่นาน และจะหายไปได้เอง แต่หากเป็นระยะปานกลางขึ้นไปแล้ว อาการปวดข้อเข่า จะเป็นต่อเนื่อง หากไม่ได้ใช้งานข้อเข่า เช่น ตอนนอน ตอนนั่งพัก ก็ยังมีอาการ ปวดหัวเข่า และไม่สามารถหายเองได้ หรือหากหายก็ไม่หายขาด
  2. ข้อเข่าติด ฝืดตึงสามารถสังเกตได้ตอนตื่นนอนว่า มีอาการ ข้อเข่าติด ฝืดตึง เคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 นาทีหรือไม่ หรือหากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายสักพักแล้วจึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง อาจมีอาการฝืดตึง รู้สึกว่าข้อต่อขาดความยืดหยุ่น หรือมีอาการข้อเข่าติดเมื่อทำการยืดเหยียดหรืองอเข่าจะรู้สึกทำได้ไม่สุด
  3. มีเสียงในข้อเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่าในขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือขณะที่มีการงอหรือเหยียดเข่า
  4. มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อเข่าเมื่อใช้มือกดตรงบริเวณข้อเข่า จะรู้สึกว่า เจ็บเข่า
  5. ข้อเข่าผิดรูปสังเกตได้ว่ากระดูกบริเวณรอบๆ ข้อเข่าจะมีลักษณะโตขึ้น อาจมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา หรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูปได้
  6. มีอาการบวมบริเวณข้อเข่าจะมีอาการบวม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่าเข่าอุ่น ซึ่งเกิดจากการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในข้อเข่า ทั้งนี้ อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ อาการข้อเข่าเสื่อม เข้าสู่ระยะปานกลางไปแล้ว

9 วิธีป้องกันและรักษา ข้อเข่าเสื่อม

  1. ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดภาระของข้อเข่า แต่อย่าออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือกีฬาที่ใช้แรงปะทะ อาจทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมาก หรือเกิดการยืดหดของเข่าถี่เกินไป เสี่ยงต่อ โรคข้อเข่าเสื่อม ได้เช่นกัน 
  2. ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อเพราะเมื่อข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากก็มีโอกาส เข่าเสื่อม เร็วขึ้น
  3. อย่าใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก การนั่งยองๆ ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบนานๆ หรือบ่อยครั้ง หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม ได้มากขึ้น
  4. ใช้เครื่องช่วยเดิน เพื่อผ่อนการลงน้ำหนัก ลดแรงกระทำต่อข้อ เช่น ไม้ค้ำ ไม้เท้า

5. การประคบร้อนเมื่อมีอาการ ปวดเข่าในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และประคบเย็นช่วง 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ ปวดเข่า
6. รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิว การเลเซอร์ หรือฝังเข็ม
7. รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ และยากลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก อาจะการใช้ยากลุ่มต่างๆ ที่รักษา อาการข้อเข่าเสื่อม เช่น พาราเซตามอล บรรเทาอาการปวดในเบื้องต้น และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
8. การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงเข่า การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยลดอาการ ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า และช่วยการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น
9. การฉีด Growth Factor เป็นการซ่อมแซมฟื้นฟู เข่าเสื่อม ด้วยเซลล์ของตัวเอง
10. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ในกรณีมี อาการข้อเข่าเสื่อม อย่างรุนแรง เมื่อ ปวดข้อเข่า มากและรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีใดๆ  หรือมีอาการผิดรูปของข้อมากจนใช้งานไม่ได้