ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ฮอร์โมนผู้ชาย

รู้จัก ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เรื่องที่ผู้ชายต้องรู้!

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร ?

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย คือ ภาวะที่ร่างกายขาด เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่เกิดขึ้นได้กับเพศชาย วัย 45 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ และอาจละเลยไปจนถึงจุดที่ยากต่อการรักษาได้

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ในผู้ชายสูงอายุประกอบด้วยอาการที่แสดงชัดเจนและอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน พบว่าความไม่แม่นยำของการวัดระดับฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงความกังวลต่อผลเสียจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีศึกษาของการใช้ฮอร์โมนชดเชยในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดข้อเถียงเกี่ยวกับความปกติดังกล่าวว่ามีจริงหรือไม่ รวมถึงประโยชน์และโทษของการใช้ ฮอร์โมนผู้ชาย เพื่อชดเชย

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีแนวทางการวินิจฉัยและรักษาสำหรับ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย จากหลายสมาคมทางการแพทย์ ซึ่งมักรวมภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ชายสูงอายุไว้รวมกับกลุ่มที่เกิดจากสาเหตุที่พบโดยทั่วไป

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ฮอร์โมนผู้ชาย

การเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนผู้ชาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ตามอายุ

ฮอร์โมนผู้ชาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone) อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบ Hypothalamic Pituitary Gonadal (HPG) axis ซึ่งประกอบด้วย สมองส่วนไฮโปทาลามัน หลั่ง Gonadotropin Releasing Hormone (GnRH) ไปที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน Gonad Otropin (Luteinizing Hormone, LH และ Follicle Stimulating Hormone, FSH) ฮอร์โมน LH จะกระตุ้นการ สร้างฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน จาก Leydig Cell ของอัณฑะ (Testis) ขณะที่ฮอร์โมน FSH ควบคุมการทำงานของ Sertoli Cell เพื่อทำหน้าที่ Spermatogenesis และสร้างสารเช่น Androgen Binding Protein (ABP), Mullerian Inhibitory Substance (MIS) และ Inhibin เป็นต้น

ร่างกาย สร้างฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน ตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ภายในครรภ์มารดา สูงสุดที่อายุ 11-14 สัปดาห์และจะลดลงช่วงเกิด กลับมาสูงขึ้นอีกช่วงเข้าวัยหนุ่มและสูงสุด ช่วงอายุประมาณ 30 ปี และลดลงเมื่อสูงอายุขึ้น ค่าปกติของฮอร์โมนทีในเลือดของผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 300 ถึง 1000 ng/dL สูงสุดช่วงเช้าและต่ำสุดช่วงเย็น (Circadian Rhythm) ซึ่งจะมีค่าต่างกันประมาณ 30% ฤดูร้อนจะมีระดับฮอร์โมนสูงกว่าฤดูอื่นเล็กน้อย

ฮอร์โมน Testosterone เมื่ออยู่ในเลือดจะจับกับโปรตีน Sex Hormone Binding Globulin (SHBG) เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือจะจับกับ..Albumin และ Cortisol Binding Globulin (CBG) เหลือเป็นรูปอิสระ (Free Testosterone, FT) ประมาณ 1-2% ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนที่ออกฤทธ์ (Biologically Active) โดยจับกับตัวรับ หรือ Androgen Receptor (AR)  ซึ่งกระจายตามร่างกาย คำว่า Bioavailable Testosterone (BT) หมายถึงฮอร์โมนรูป FT  รวมกับส่วนของ ฮอร์โมนผู้ชาย Testosterone ที่จับกับ Albumin  เนื่องจากการจับกับโปรตีน Albumin นั้นค่อนข้างหลวม และสามารถหลุดออกมาเป็นรูป FT ได้ง่ายซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าเป็นส่วนที่ออกฤทธิ์ได้นอกเหนือจากส่วน FT

ฮอร์โมน Androgens ชนิดอื่น ประกอบด้วย

  1. Dihydrotestosterone (DHT) ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาจากฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน ด้วยเอนไซม์ 5alpha- reductive ที่เนื้อเยื่อ (Peripheral Tissue) มีเพียง 20% ที่หลั่งมาจากอัณฑะโดยตรง
  2. Androstenedione (A4) ส่วนใหญ่หลั่งจากอัณฑะ และต่อมหมวกไตชั้นนอก ประมาณ 15% ที่เปลี่ยนมาจาก DHEA และ Testosterone พบว่าฮอร์โมนจะสูงสุดช่วงเช้า
  3. Dehydroepiandrosterone Sulfate (DHEAS) เกือบทั้งหมด หลั่งจากต่อมหมวกไตชั้นนอก เป็น ฮอร์โมนเพศชาย ที่มีปริมาณมากที่สุดในกระแสเลือดแต่มีฤทธิ์น้อย ระดับคงที่ตลอดวัน
  4. Dehydroepiandrosterone (DHEA) เปลี่ยนมาจาก DHEAS มีเพียง 10-20% ที่หลั่งจากอัณฑะ และต่อมหมวกไตชั้นนอก ฮอร์โมนจะสูงสุดช่วงเช้า

ฮอร์โมน Estrogen (E) ของผู้ชาย ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาจากฮอร์โมน Testosterone และ A4 ที่ตำแหน่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมันประมาณ 20% เท่านั้นที่หลั่งจากอัณฑะทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน LH และการทำงานของ epiphyseal plate และกระดูก

เทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนผู้ชาย สร้างฮอร์โมนเพศชาย

หน้าที่ของ ฮอร์โมนผู้ชาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone)

  1. การพัฒนาการทางเพศของชาย ตั้งแต่อายุประมาณหกถึง 12 สัปดาห์ในครรภ์มารดาทำให้เกิดภาวะ male sexual differentiation การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศชาย รวมถึงการเข้าสู่ภาวะ secondary sex characteristics ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่
  2. ขบวนการ spermatosis
  3. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และสติปัญญา ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ก้าวร้าว และความต้องการทางเพศ
  4. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน Testosterone ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ muscle strength และ volume
  5. ผลต่อกระดูก ผ่านทางฮอร์โมน DHT และ E กระตุ้นการทำงานของ osteoclast ทำให้ bone mineral density มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีผลต่อ sebaceous gland สร้างไขมันที่ผิวหนังมากขึ้น เกิดสิว ผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง (erythropoiesis) โดยกระตุ้นที่ไขกระดูกและไต เป็นต้น

ดังนั้นความผิดปกติทางคลินิกของการขาดฮอร์โมน Testosterone (low T) ประกอบด้วย

  1. ลักษณะความเป็นผู้ชายลดลง ประเมินจาก ความต้องการทางเพศ (Loss of Libido) สมรรถภาพทางเพศ (Erectile quality/frequency) ปริมาณขนตามร่างกาย กรณีที่เกิดในช่วงวัยรุ่น จะเกิดปัญหาการเข้าสู่วัยหนุ่มช้า (delayed puberty)
  2. เป็นหมันหรือมีบุตรยาก (infertility)
  3. การลดลงของมวลกระดูก (osteopenia/osteoporosis) ร่วมกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลงทำให้มีความเสี่ยงต่อการล้ม และกระดูกหัก ภาวะ low T ถือเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะ Male osteoporosis ถึงแม้จะไม่มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสองภาวะโดยตรง เชื่อว่าผู้ป่วยชายที่มีกระดูกหักของ สะโพก และกระดูกสันหลัง ประมาณ 50% และ 20% น่าจะมีสาเหตุจากภาวะ low T
  4. การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ได้แก่ depressive mood , irritability และ poor concentration
  5. ความจำและการทำงานของระบบประสาท ผู้ป่วยภาวะ low T จะมีความสามารถด้าน visual memory,verbal memory,visuopatial function และ visuomotor scanning ลดลง
  6. รูปร่างจะมีลักษณะอ้วนลงพุง ปริมาณไขมันตามร่างกายเพิ่มขึ้น และเสี่ยงต่อกลุ่มอาการ metabolic syndrome โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T2DM) และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Cardiovascular disease, CVD) ระดับของฮอร์โมน Testosterone จะแปรผกผันกับการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (internal carotid artery thickness) รวมถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้แก่ ระดับ cholesterol, low-density lipoprotein (LDL) fibrinogen และ plasminogen activator inhibitor type-1 (PAI-1)
  7. ความผิดปกติของการนอน (Sleep Disturbance)
  8. ประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ลดลง ได้แก่ diminished motivation , fatigue และ decreased energy เป็นต้น
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ สูงอายุ

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ของชายสูงอายุ

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและอารมณ์ เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชายที่เกิดขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น การใช้คำว่า Andropause เพื่อเปรียบเทียบภาวะ menopause ของเพศหญิง แต่มีความแตกต่างกันคือ ภาวะ menopause การทำงานของรังไข่จะหยุดทันที จากภาวะ ovarian failure  แต่ภาวะ Andropause นี้อัณฑะยังสามารถทำงานได้แต่ค่อยๆลดลง

ระดับฮอร์โมน Testosterone จะขึ้นสูงสุดช่วงอายุ 20-29 ปี และเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ระดับของฮอร์โมนจะลดลงด้วยอัตราแระมาณ 1-2% หรือ 3.2-3.5 ng/dL ต่อปี จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ที่อายุมากกว่า 45 ปี อยู่ระหว่าง 12-38% ประมาณ 1/3 ในผู้ชายอายุมากกว่า 60 ปี และประมาณ 50% ที่อายุมากกว่า 70 ปี และจะพบค่าสูงขึ้นในคนอ้วน เบาหวานชนิดที่ 2 และ อายุที่มากขึ้น

การสร้างฮอร์โมนเพศชาย ฉีดฮอร์โมนเพศชาย ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ

  1. เพื่อชดเชยฮอร์โมนเพศชายที่ขาด (androgen replacement therapy , ART) รวมถึงการนำมาใช้เพื่อคุมกำเนิด (male contraception) และการให้ฮอร์โมนเพศชายสำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน (androgen replacement therapy for postmenopausal woman)
  2. เพื่อการรักษาโรค โดยที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะ low T (Pharmacological androgen therapy,PAT) เป็นการอาศัยผลของฮอร์โมน Testosterone ต่อร่างกาย ปัจจุบันถือเป็นการรักษาเสริม (adjunctive therapy) เพิ่มเติมจากกรักษามาตรฐาน ได้แก่
       1. ภาวะโลหิตจาง (anemia) จากโรค aplastic anemia หรือ โรคไตวาย (renal failure)
       2. เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจหรือหัวใจ (Respiratory หรือ heart failure ) กลุ่มผู้ป่วย autoimmune diseases ที่ใช้ยา steroids และกลุ่ม ผู้ป่วย AIDS ที่มีปัญหา wasting syndrome
       3. ป้องกันการเกิดโรคซ้ำของโรค hereditary angioedema หรือ urticaria
       4. การรักษาแบบ palliative care ของผู้ป่วย terminal breast cancer
  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูสุขภาพ (rehabilitation) ของผู้ป่วยที่มีภาวะ catabolic ได้แก่ burn, critical illness, หรือ major surgery

ภาวะข้างเคียงของการได้รับ ฮอร์โมนเพศชายแบบฉีด

  1. มะเร็งต่อมลูกหมากไม่มีหลักฐานว่าฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและสามารถเป็นตัวกระตุ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีมะเร็งดังกล่าวอยู่ทำให้เกิดการกระจายของมะเร็งได้
  2. ต่อมลูกหมากโต พบว่าการได้รับ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จะทำให้ระดับ PSA สูงขึ้น แต่จะไม่เกินค่าปกติ แต่ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินปัสสาวะอุดตันจากต่อมลูกหมากโตจะมีอาการเลวลงได้
  3. ความเข้มข้นเลือดสูง ความเข้มข้นเลือดจะสูงขึ้น 2 ถึง 5% โดยเฉพาะผู้สูงอายุและได้รับยารูปแบบ ฉีดฮอร์โมนเพศชาย
  4. นอนกรน เชื่อว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ได้รับจะทำให้ภาวะนอนกรนเลวลง
  5. เต้านมโตเกิดจาก ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ได้รับเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนวิธีแก้ไขคือการปรับขนาดยา นอกจากนี้มีผลแสดงถึงการกระตุ้นมะเร็งเต้านมของผู้ป่วยได้
  6. อัณฑะเล็กลงและเป็นหมัน จากการศึกษาเรื่องยาคุมกำเนิดเพศชาย พบปริมาณอสุจิจะลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 10 ถึง 11 แต่กลับเป็นปกติที่ 6 ถึง 18 เดือนหลังหยุดยา สร้างฮอร์โมนเพศชาย
  7. สิว ผิวมัน และศีรษะล้าน

นอกจากนี้ มีรายงานความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น psychotic symptoms, excessive libido. Aggression รวมถึง physical/psychological dependence และ withdrawal symptoms อาการบวมจะพบในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต ตับ หรือหัวใจอยู่เดิม

การสร้างฮอร์โมนเพศชายทดแทน

  1. ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ทุกด้านแต่ไม่มาก จะได้ผลดีในกลุ่มที่ระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมาก และอายุน้อย 100 แต่กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีผลการศึกษาได้ผลไม่ดีนัก ขณะที่กลุ่มที่มีฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน ปกติ การให้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ไม่ได้ผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุม ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยภาวะที่มีฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนต่ำ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ที่สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศการเลือกให้ฮอร์โมนเทสโตสเตอร์โรนอาจพิจารณาหลังจากที่ไม่ได้ผลจากอยากกลุ่ม phosphodiesterase inhibitor
  2. ผลต่อกระดูก พบว่าช่วยเพิ่ม BMD โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมาก หรือได้รับยาสเตียรอยด์ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าการให้ฮอร์โมนเทสโทสเธอโรน สามารถลดการหักของกระดูกได้ ดังนั้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหักอาจเพิ่มยาที่มีคุณสมบัติป้องกันกระดูกหักร่วมกับการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนด้วยและควรเลือกใช้ยาฮอร์โมน androgens ที่สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน
  3. ผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษาของการให้ฮอร์โมนเทสโทสเธอโรนชดเชยสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนต่ำที่อายุน้อยและวัยกลางคนนั้นได้ผลดี แต่สำหรับผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจยังไม่สามารถสรุปได้ การให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนถึงแม้ว่าจะลดปัจจัยเสี่ยงลงได้เช่น ผลต่อไขมัน รูปร่างของร่างกาย และภาวะ Metabolic Syndrome แต่ผลทางคลินิกเช่น การวัดด้วย brachial flow-mediated dilation หรืออุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจ ยังไม่มีมีข้อมูลสนับสนุน นอกจากนี้รูปแบบฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนที่ใช้เชื่อว่าได้ผลต่างกัน
  4. ผลต่อรูปร่างของร่างกาย ช่วยลดไขมันและเพิ่มกล้ามเนื้อภายใน 1-2 เดือนแรกโดยเฉพาะสัตว์โดยเฉพาะสมรรถภาพการทำงาน
  5. ผลต่อการทำงานของสมอง อารมณ์ และคุณภาพชีวิต การศึกษายังไม่แสดงถึงประโยชน์ที่ชัดเจน
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความสัมพันธ์ของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผลการศึกษามีทั้งสนับสนุนและคัดค้านความสัมพันธ์ระหว่างสองภาวะ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่มี ระดับ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ สัมพันธ์กับอัตราการตายทั้งชนิด all-cause และ CVD death ที่เพิ่มขึ้น ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลง 62.82 ng/dL จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต (all-cause mortality) ประมาณ 35% และเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากระบบหลอดเลือดหัวใจประมาณ 25% และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวานหรือโรคไต กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำร่วมด้วยจะเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม

ความสัมพันธ์ของภาวะ ฮอร์โมนเพศชายต่ำ และการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผลการศึกษาแบบ meta-analysis จำนวน 19 การศึกษา ที่ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ พบว่ากลุ่มผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนปกติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด CVD ต่ำกว่ากลุ่มที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ จะเห็นความสัมพันธ์ดังกล่าวชัดเจนในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 70 ปี แต่รูปแบบการศึกษาศึกษาด้วยวิธี Mendelian randomization analysisไม่สนับสนุนความสัมพันธ์ดังกล่าวเชื่อว่าอาจเป็นผลกวนจากปัจจัยอื่น

บทสรุป ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ

โดยสรุปข้อบ่งชี้ของการใช้ฮอร์โมนผู้ชาย เทสโทสเตอโรน เพื่อชดเชยที่ยอมรับและมีประโยชน์ชัดเจน คือผู้ป่วยที่มีปัญหา ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ที่มีสาเหตุชัดเจนหรืออายุน้อย สำหรับผู้ชายที่สูงอายุนั้นถึงแม้การศึกษาจะแสดงถึงความสัมพันธ์ของภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำกับความผิดปกติทางคลินิกหลายประการ แต่ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์ที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลดอัตราการตายและการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จึงควรพิจารณาในกรณีดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายให้เหมาะสม