การตรวจฮอร์โมนเพศชายสำคัญอย่างไร?

ฮอร์โมนปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ระบบฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานในทุกระบบของร่างกาย ฮอร์โมนในตัวเรานั้นมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิต อย่างยิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างในกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน ล้วนแล้วแต่มีฮอร์โมนเป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) คืออะไร

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของผู้ชายมีหน้าที่ในการกระตุ้นระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับเพศชายเท่านั้น เช่น ขนตามร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ กระดูก รวมไปถึงความต้องการทางเพศและการสร้างอสุจิด้วยเช่นกัน ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนนั้นจะถูกความคุมการสร้างโดยสมองของเราซึ่งจะทำการผลิตจากลูกอัณฑะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

การที่ผู้ชายมีปริมาณของฮอร์โมนเพศชายที่สมดุลในร่างกายนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลและแข็งแรง แต่ถ้าหากมีปริมาณลดลงก็จะทำให้ร่างกายของคุณทำงานได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้บางส่วนของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง, อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่ดีพอไปจนถึงปริมาณอสุจิลดลง โดยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำสามารถเกิดได้ด้วยปัจจัยเหล่านี้

 

  • ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคบางชนิด เช่น การฉายรังสี, การทำเคมีบำบัด, การทำหมัน)
  • ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนได้น้อยลงจากโรคบางชนิด (โรคเอดส์, โรคตับ, โรคไต, ไขมันสะสมในร่างกาย, โรคเบาหวาน, โรคเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง)
  • เกิดการติดเชื้อที่บริเวณลูกอัณฑะ
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ความเครียดจากภาวะต่างๆ

วิธีเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนที่แพทย์แนะนำ

  • หมั่นออกกำลังกายด้วยวิธี Weight Training จะช่วยให้ร่างกายมีความฟิตและทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนได้มากขึ้น
  • ลดความเครียดลง เพราะความเครียดจะเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งจะทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนลดลง มีผลต่อสภาพจิตใจและลุกลามไปถึงสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมงจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูส่วนต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศชายโดยตรง
  • ควบคุมอาหารรับประทานให้ครบ 5 หมู่อย่างสมดุล โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังเป็นอาหารชั้นดีที่จะช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ตามกระบวนทางธรรมชาติ
  • เลิกสูบบุหรี่และพยายามลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะนิโคตินในบุหรี่และแอลกอฮอล์คือตัวการสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอรโรนลดลง ทำให้เสื่อมสมรรถภาพ และส่งผลให้อสุจิไม่แข็งแรง

ใครที่เข้าควรรับการ ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ?

  • ผู้ชายอายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนน้อย นอนหลับไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของทอด ของมัน หรือของหวาน
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นประจำ 
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือพร่องวิตามิน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

นอกจากกลุ่มคนดังกล่าวแล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้ารับการ ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ได้เช่นกัน เพราะจะช่วยให้เรารู้จักกับร่างกายของตนเองได้ดีขึ้น และวางแผนดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม

อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชาย

  • ระดับพลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่กระฉับกระเฉง
  • อารมรณ์แปรปรวน
  • โรคซึมเศร้า มีความเครียด
  • นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
  • อารมณ์ทางเพศลดลง อวัยวะเพศชายแข็งตัวยาก หรือแข็งตัวได้ไม่นาน
  • อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
  • การเผาผลาญในร่างกายลดลง อ้วนง่าย ลงพุง
  • มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • มวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลงลดลง ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น
  • ผิวพรรณเปลี่ยนแปลง แห้งกร้าน เหี่ยวย่น
  • มีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน

ประโยชน์ของการ ตรวจฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานในร่างกาย การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้เรารู้จักร่างกายตัวเองดีขึ้น และวางแผนการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เช่น

  • ช่วยให้รู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต และโกรทฮอร์โมน
  • หากพบภาวะไม่สมดุล จะได้ดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
  • คัดกรองอาการอ่อนเพลียของร่างกายจากภาวะต่อมหมวกไตล้า
  • คัดกรองภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย
  • คัดกรองภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดผิดปกติ แม้จะรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ
  • คัดกรองภาวะมีบุตรยากจากการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงผิดปกติ ผิวมัน หรือเป็นสิวฮอร์โมนได้อีกด้วย
  • ได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม และอาจได้รับฮอร์โมนทดแทนส่วนที่ขาดจากแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน อย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะบุคคลนั้นๆ

ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ต้องตรวจฮอร์โมนชนิดใดบ้าง ?

ชนิดของฮอร์โมนที่มักพบในรายการ ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย มีดังนี้

  • Luteinizing Hormones (LH)        ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ต่อมไร้ท่อที่อยู่ในอัณฑะ สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนเพศชายขึ้นมา
  • Follicle Stimulating Hormone (FSH)     ควบคุมการสร้างอสุจิ และกระตุ้นให้ LH เปลี่ยนฮอร์โมนแอนโดรเจนส่วนใหญ่ให้เป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
  • Estradiol (E2)      ผลิตจากลูกอัณฑะและต่อมหมวกไต หากมีน้อยเกินไป อาจแสดงว่า เป็นหมัน หรือเกิดโรคที่ลูกอัณฑะ หรือต่อมหมวกไต หากมีมากเกินไป อาจแสดงว่า เกิดมะเร็งที่ลูกอัณฑะ หรือต่อมหมวกไต ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศระหว่างหญิงชาย หรือเป็นโรคอ้วน
  • Testosterone      ฮอร์โมนหลักของเพศชาย เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธ์
  • Sex hormone binding globulin (SHBG)     เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หากมีมากเกินไปจะทำให้ Free testosterone ซึ่งอยู่ในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายที่ร่างกายนำไปใช้ได้ง่าย ถูกจับไปมากขึ้น ทำให้มีปริมาณและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • Thyroid Stimulating Hormone (TSH)     ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) และ T4 (Thyroxine)   Free T3 หมายถึง Triiodothyronine ที่ไม่ได้จับกับโปรตีน สามารถบ่งชี้โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ได้   Free T4 หมายถึง Thyroxine ที่ไม่ได้จับกับโปรตีน สามารถบ่งชี้โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ได้
  • Dehydroepiandrosterone Sulphate (DHEAs)     เป็นหนึ่งในฮอร์โมนตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ หากมีระดับผิดปกติจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์
  • Insulin-like growth factor 1 (IGF-1)    มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายในวัยเด็ก และเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อร่างกายในผู้ใหญ่ สามารถใช้ประเมินอายุจริงของร่างกายได้
  • Insulin like growth factor binding protein 3 (IGFBP-3)      สามารถใช้ตรวจคัดกรองภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone deficiency) หรือภาวะที่มีฮอร์โมนการ เจริญเติบโตมากผิดปกติ ( Acromegaly) ได้
  • Cortisol    เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด และมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ต่อสู้กับอาการอักเสบ กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด หรือช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย
  • Insulin      ทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม

ทำไมต้อง ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ที่ Doctor Trin Wellness

ดูแลและฟื้นฟูจากภายในแบบองค์รวม

เพราะเรา .. เข้าใจผู้ชาย

เราใช้การฟื้นฟูสุขภาพเพศชายแบบองค์รวม ตรวจฮอร์โมนชาย ตรวจสุขภาพชาย หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พร้อมรักษาฟื้นฟูโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพ เน้นการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ สารสกัด Growth Factor จากตัวเองฉีดรักษาเป็นหลัก เพื่อซ่อมแซมที่ต้นเหตุ

ติดต่อเรา 097 265 5994

We will contact you within one business day.