ไขปัญหายาโรคซึมเศร้า ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศจริงไหม

จริงหรือการกินยาโรคซึมเศร้า จะมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้ หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าการกินยารักษาโรคซึมเศร้าจะทำให้หย่อนสมรรถภาพ ซึ่งทำให้เกิดเป็นความสงสัยว่ามันมีผลจริงหรือ ดังนั้นวันนี้  Trin Wellness Clinic เราจะมาไขคำตอบ และเจาะลึกเกี่ยวกับยาชนิดนี้กันว่ามีกี่ประเภทกันแน่ และมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้างต่อสุขภาพ มาดูกันเลย

ยาโรคซึมเศร้าคืออะไร

2 ยาโรคซึมเศร้าคืออะไร

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า โดยจะช่วยปรับสารเคมีในสมองให้มีความสมดุล จึงลดความรู้สึกซึมเศร้าลง โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น หลังจากกินยาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคด้วย ผู้ป่วยควรกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างถูกต้อง และกินต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุดยา

ยาโรคซึมเศร้ามีกี่ประเภท

3 ยาโรคซึมเศร้ามีกี่ประเภท

ยาโรคซึมเศร้ามีหลายประเภท โดยจะมีลักษณะการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นแพทย์จะเลือกใช้ยาโรคซึมเศร้าที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ซึ่งมียากลุ่มไหนบ้างและต่างกันอย่างไร? ติดตามกันต่อเลย

ยากลุ่ม SSRIs

ยากลุ่ม SSRIs หรือ Selective Serotonin Reuptake Inhibitors เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับเข้าเซลล์ของสารสื่อประสาทเซโรโทนินในสมอง ทำให้ระดับเซโรโทนินในสมองสูงขึ้น ช่วยปรับสมดุลระบบประสาท บรรเทาอาการซึมเศร้า และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ยกตัวอย่างยาที่นิยมใช้ เช่น

  • Fluoxetine เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม SSRIs ออกฤทธิ์ค่อนข้างนาน และมีข้อดีคือราคาถูก แต่อาจมีผลข้างเคียงทางด้านระบบประสาท เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนได้
  • Sertraline เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง มีผลข้างเคียงน้อย แต่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองในระบบทางเดินอาหารได้
  • Paroxetine ออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ ปากแห้ง คลื่นไส้ และเวียนศีรษะ

สำหรับข้อดีของยากลุ่ม SSRIs คือ มีความปลอดภัยสูง ถือว่ามีผลข้างเคียงน้อย จึงเป็นกลุ่มยาที่แพทย์นิยมสั่งใช้เป็นอันดับแรกสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่ทั้งนี้ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้บ้างขึ้นอยู่กับตัวยาและปัจจัยของแต่ละบุคคล

ยากลุ่ม SNRIs

ยากลุ่ม SNRIs หรือ Serotonin-Norepinephrine Reuptake Inhibitors เป็นอีกกลุ่มยาที่นิยมใช้รักษาโรคซึมเศร้า โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทสองชนิด คือ เซโรโทนิน (Serotonin) และโนรเอพิเนฟริน (Norepinephrine) ทำให้ระดับของสารเหล่านี้ในสมองสูงขึ้น ช่วยปรับสมดุลการทำงานของสมอง บรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และความผิดปกติทางอารมณ์ มีตัวยาที่นิยมใช้ เช่น

  • Venlafaxine เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม SNRIs มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ และความดันโลหิตสูงขึ้น
  • Duloxetine ใช้รักษาทั้งโรคซึมเศร้าและภาวะปวดเรื้อรังประเภทต่าง ๆ เช่น ปวดจากไขสันหลังเสื่อม ปวดจากโรครูมาตอยด์ มีผลข้างเคียงคล้าย Venlafaxine
  • Levomilnacipran เป็นยารุ่นใหม่ล่าสุด ออกฤทธิ์คล้าย Venlafaxine แต่มีผลข้างเคียงต่อผิวหนัง น้ำหนักตัว และระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า

ยากลุ่ม MAOI

ยาโรคซึมเศร้า MAOI หรือ Monoamine Oxidase Inhibitors เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารสื่อประสาทชนิดต่าง ๆ เช่น เซโรโทนิน โนรเอพิเนฟริน และโดพามีน ทำให้ระดับสารสื่อประสาทเหล่านี้ในสมองสูงขึ้น ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ดี ตัวยาที่นิยมใช้ เช่น

  • Phenelzine ใช้รักษาโรคซึมเศร้าและโรคแพนิคได้ดี แต่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
  • Tranylcypromine มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี อาจได้ผลดีกว่า phenelzine ในภาวะซึมเศร้ารุนแรง
  • Isocarboxazid ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ MAO มีผลระยะสั้นกว่า จึงมีผลข้างเคียงระยะยาวน้อยกว่า

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้จะคล้าย ๆ กัน คือ อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว และนอนไม่หลับ เป็นต้น

ยากลุ่ม TCA

ยากลุ่ม TCA หรือ Tricyclic Antidepressants เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทหลายชนิด เช่น เซโรโทนิน โนรเอพิเนฟริน และโดพามีน จึงช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ ตัวยาที่นิยมใช้ เช่น

  • Imipramine มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคซึมเศร้า แต่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
  • Amitriptyline มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยบรรเทาอาการปวดประเภทต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน และปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เป็นต้น
  • Nortriptyline มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าใกล้เคียงกับ Amitriptyline แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

โดยมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยากลุ่มนี้ เช่น ปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน มึนงง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ชีพจรช้าลง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ และน้ำหนักขึ้น เป็นต้น ในผู้สูงอายุอาจเกิดผลข้างเคียงทางจิตประสาท เช่น ประสาทหลอน สับสน พูดจาลำบากลำบน ส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งใช้ยากลุ่มนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอื่นเท่านั้น

ยาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ยาโรคซึมเศร้าแต่ละชนิด จะมีผลข้างเคียงต่างกันออกไปตามที่ Trin Wellness Clinic ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่โดยสรุปแล้วจะมีผลข้างเคียงที่มักจะพบได้บ่อยดังต่อไปนี้

  1. คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง มักจะพบในช่วงแรก ๆ ของการใช้ยา และจะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังกินยาไประยะหนึ่ง
  2. น้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากยาบางตัวจะทำให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าเดิม 
  3. ปากแห้ง คอแห้ง เพราะร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
  4. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะพบอาการนี้ได้น้อยมาก
  5. มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุ

ยาโรคซึมส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศจริงไหม

4 ยาโรคซึมส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศจริงไหม

ยารักษาโรคซึมเศร้า มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้จริง เนื่องจากสารเซโรโทนินที่เพิ่มขึ้นจากการกินยา จะส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง จึงเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพได้  หากคุณใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าและมีภาวะอาการนี้ แนะนำให้ควรพบแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข อาจจะใช้การปรับเปลี่ยนยาหรือลดปริมาณลง และปรับการกิน รวมถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถภาพเพศชายให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็วนั่นเอง

สรุปเกี่ยวกับยาโรคซึมเศร้า

ยาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงมากมาย รวมถึงสมรรถภาพทางเพศก็เช่นกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงให้ได้มากที่สุด สามารถขอปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาสมรรถภาพทางเพศได้ที่ Trin Wellness Clinic คลินิกสุขภาพเพศชายที่ได้มาตรฐานระดับโรงพยาบาล มีความเชี่ยวชาญด้านปัญหาการหย่อนสมรรถภาพโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหานี้ให้คุณได้อย่างตรงจุด พร้อมช่วยฟื้นฟูให้คุณกลับมามีสุขภาพดีได้อีกครั้ง

หากท่านสนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

Leave a reply