อาการความดันต่ำเป็นยังไง เช็กก่อนเกิดอันตราย

หน้ามืด เลือดกำเดาไหล ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ คุณอาจจะมีอาการความดันต่ำ (Hypotension) อยู่ คือ ภาวะความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อาจต่ำเพียงแค่ตัวเดียวหรือทั้งสองตัวก็ได้ เป็นอาการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หรือภาวะขาดสารอาหารนั่นเอง ค่าความดันต่ำนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ซึ่งเราสามารถเช็กค่าความดันได้ ด้วยเครื่องวัดความดัน และรวบรวมอาการมาให้สังเกตได้ง่าย ๆ แล้วในหัวข้อถัดไปนี้

อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร

อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่อาการความดันต่ำจะไม่รุนแรงมาก อาจมีอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลายคนจึงละเลยที่จะดูแล เพราะคิดว่าไม่ได้เป็นอันตรายกับร่างกายมากเท่าไหร่ ดังนั้นหากคุณมีอาการดังนี้ ก็เสี่ยงที่จะเป็นภาวะความดันต่ำได้เช่นกัน คือ

  • สายตาพร่ามัว 
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เป็นลม
  • คลื่นไส้ 
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด
  • หายใจลำบาก รู้สึกแน่นหน้าอก
  • ใจสั่น การเต้นของหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • มือและเท้าเย็น
  • ร่างกายมีอาการหนาวสั่น

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการความดันต่ำ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการความดันต่ำ

สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบเจอได้บ่อยครั้งมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว และการประพฤติตัวเสี่ยงที่จะเกิดอาการความดันต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ หรืออาการป่วยก็ตาม

  • อายุเพิ่มขึ้น สามารถเสี่ยงที่จะเกิดอาการความดันต่ำ เพราะร่างกายเริ่มอ่อนแอลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป 
  • ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) 
  • ความผิดปกติทางหัวใจ  เช่น ภาวะหัวใจวาย
  • โรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิด อาจทำให้ความดันร่างกายผิดปกติไปด้วย
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาความดันโลหิต ยากล่อมประสาท หรือยารักษาโรคหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนจากความดันต่ำ

คนที่มีอาการความดันต่ำจะมีความเสี่ยงที่ภาวะแทรกซ้อนได้ จากอุบัติเหตุเล็กน้อยจนถึงการได้รับผ่าตัดหรือการรักษาทางการแพทย์เข้ามาด้วย เช่น การหกล้ม ร่างกายอ่อนแรง เป็นลมในที่ที่อันตราย ขาดออกซิเจนซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อหัวใจและสมองได้อีกด้วย

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการความดันต่ำ

  • การพักผ่อนที่เพียงพอ
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ทานอาหารที่ครบ 5 หมู่
  • ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
  • ปรับหมอนหนุนศีรษะขณะนอนให้สูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างกะทันหัน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง
  • ตรวจเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จะมีค่าความดันต่ำบ่อย ๆ ควรระวังเป็นพิเศษขณะเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายอย่างอื่นตามมา

สรุปจบบทความ 

ตอนนี้คงพอเข้าใจกับอาการความดันต่ำกันบ้างแล้ว เห็นได้ว่าถึงแม้จะเป็นอาการเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ แสดงอาการที่ไม่รุนแรงหากละเลยก็สามารถส่งผลที่อันตรายให้ในภายหลังได้ด้วยเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยความดันต่ำจะไม่มีไขมันในเลือดสูง จึงอยากแนะนำให้ตรวจไขมันในเลือด เพื่อเช็กสุขภาพในเบื้องต้นได้ แต่อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี ดังนั้นการดูแลตัวเองก่อนค่าความดันจะต่ำผิดกว่าปกติจึงสำคัญอย่างมาก และควรตรวจเช็กสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ หากมีสัญญาณเตือนที่ผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาที่ตรงจุดโดยทันที

Leave a reply