รู้จักกับอาการไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากอะไร
อาการไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนอย่างผิดปกติ โดยต่อมไทรอยด์นั้นถือเป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีคุณสมบัติควบคุมการทำงานของระบบสำคัญภายในร่างกายต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการเผาผลาญ ระบบการเต้นหัวใจ และระบบการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย แน่นอนว่าหากเกิดอาการไทรอยด์เป็นพิษ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายหลายส่วน
อาการไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร
ภาวะอาการไทรอยด์เป็นพิษของผู้ป่วยแต่ละราย จะพบอาการที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย, ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว, อาการมือสั่น, เหงื่อออกง่าย, ต่อมไทรอยด์บวม, นอนไม่หลับ หรือผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากพบความผิดปกติดังกล่าว แนะนำให้รีบเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อจะได้รับการประเมินอาการ และหาแนวทางการรักษาได้อย่างถูกวิธี
สาเหตุของอาการไทรอยด์เป็นพิษ
สำหรับอาการไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยมักเป็นกันจะเรียกกันว่า โรคเกรฟส์ (Graves’ Disease) ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป นอกจากนั้นก็สามารถเกิดจากสาเหตุต่อมไทรอยด์เป็นก้อน อันเนื่องมาจากการใช้งานที่หนักหน่วง รวมทั้งสาเหตุจากพฤติกรรม อย่างการทานไอโอดีนมากเกินไป หรือการได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์เกินขนาด ส่งผลให้เกิดภาวะอาการไทรอยด์เป็นพิษได้
ลักษณะอาการไทรอยด์เป็นพิษ
ลักษณะอาการไทรอยด์เป็นพิษจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ ที่ส่งผลให้เกิดอาการน้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ ขี้ร้อน ขาดสมาธิ มือสั่น ประจำเดือนน้อยลง อันเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง และไฮโปไทรอยด์ ที่ส่งผลให้เกิดอาการน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง เป็นตะคริวง่าย อันเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป
แนวทางการรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษ
เมื่อพบว่ามีอาการไทรอยด์เป็นพิษ จะมีแนวทางการรักษา 3 วิธีด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการทานยากลุ่มต้านไทรอยด์ ซึ่งจะช่วยลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ของร่างกาย หรือทานยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ที่จะช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาปกติ วิธีต่อไปจะเป็นการรักษาด้วยสารรังสี โดยจะให้กลืนสารไอโอดีน เพื่อเข้าทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์น้อยลง และวิธีสุดท้ายคือ การผ่าตัด ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน หรือหากจำเป็นก็ต้องนำออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้อีก แน่นอนว่าอาจมีผลกระทบตามมา อย่างเสียงแหบ หรือภาวะการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นการเลือกแนวทางการรักษาควรอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สรุปบทความ
อาการไทรอยด์เป็นพิษจะแสดงลักษณะอาการให้เห็นที่หลากหลายรูปแบบ หากพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง แนะนำให้รีบเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เผื่อพบอาการที่อยู่ในภาวะไม่รุนแรงมากนัก สามารถรักษาให้หายขาดได้ในเวลาอันสั้น เพราะทุกคนมีเพียงหนึ่งร่างกาย การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ
Leave a reply
Leave a reply