รู้ทันโรคท่อปัสสาวะอักเสบ ภัยร้ายที่เกิดขึ้นได้ทุกคน
โรคท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) คือ อาการบาดเจ็บและอักเสบในบริเวณเซลล์เยื่อเมือกบุท่อปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจากการเข้าห้องน้ำ อาการข้างเคียงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคาสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น ถือเป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยเพราะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย โดยช่วงวัยที่พบปัญหาท่อปัสสาวะอักเสบมากที่สุดจะเป็นช่วยวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 20-35 ปีขึ้นไป
โรคท่อปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคท่อปัสสาวะอักเสบโดยส่วนใหญ่สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- สาเหตุจากการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อจากกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่าง โรคหนองใน โรคเริม โรคซิฟิลิส ไวรัส HIV เป็นต้น ส่วนการติดเชื้ออื่น ๆ อาจมาจากการทำเข้าห้อง เช่น เชื้ออิโคไล เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส สามารถติดได้ทางลำไส้
- สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่พบได้น้อยกว่าการติดเชื้อ เพราะส่วนมากเป็นภาวะที่แทรกซ้อนมาจากการผ่าตัดที่ต้องมีการสอดท่อผ่านทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้อง การคาสายสวนปัสสาวะ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดในบริเวณอวัยวะเพศก็ทำให้เกิดการระคายเคืองในบริเวณเยื่อเมือกบุท่อปัสสาวะได้เช่นกัน
นอกจากนี้ในผู้หญิงยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำเกิดโรคท่อปัสสาวะอักเสบอีก เช่น การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สามารถช่วยป้องกันแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ได้ และผู้ที่ตั้งครรภ์เสี่ยงจากการที่ทางเดินปัสสาวะขยายออกมากกว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
- ทุกเพศและทุกวัยสามารถเป็นโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้ทั้งหมด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือผู้ที่อยู่ในวัยระหว่าง 20-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญพันธุ์
- เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากลักษณะอวัยวะเพศภายนอกที่อยู่ใกล้กับช่องคลอด และปากทวารมากกว่าผู้ชาย จึงทำให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคได้โดยตรง
- การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย และมีการร่วมเพศทางปากและทวารหนักควบคู่ไปด้วย
- ผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
อาการของโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
- ปัสสาวะติดขัด มีอาการแสบ และอาจจะมีเลือดหรือหนองออกมาด้วย
- ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ และมีลักษณะขุ่น
- รู้สึกเจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์
- อาจมีต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณโคนขาหนีบ
- ในกรณีที่เชื้อลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะอาจทำให้มีอาการไข้ร่วมด้วย
- สำหรับผู้หญิงอาจมีอาการปวดท้องในบริเวณอุ้งเชิงกรานร่วมด้วย และหากมีการติดเชื้อที่ปากมดลูกอาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
โรคท่อปัสสาวะอักเสบ โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและสามารถรักษาให้หายได้ แต่ยกเว้นผู้ป่วยในรายที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่ต้องสวนสายปัสสาวะไปตลอดจากการเป็นอัมพาต ซึ่งผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนมักเกิดจากการดูแลรักษาไม่ถูกวิธี เช่น ผู้ป่วยที่ซื้อยาปฏิชีวนะมากินเองจนเกิดเชื้อดื้อยา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมักเกิดในเพศหญิง เนื่องจากมีท่อปัสสาวะสั้น อาจก่อให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบ การมีบุตรยาก และการตั้งครรภ์นอกมดลูก ส่วนเพศชายอาจเกิดกลุ่มอาการไรเตอร์ เป็นภาวะข้ออักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ อัณฑะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
แนวทางการรักษาโรคท่อปัสสาวะอักเสบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในการวินิจฉัยโรคท่อปัสสาวะอักเสบแพทย์จะเช็กจากประวัติส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ประวัติการตรวจร่างกาย พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ประวัติการตรวจภายใน (ผู้หญิง) การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (ท่อปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ) นอกจากนี้ยังอาจมีการตรวจปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยอย่างการตรวจเลือดในกรณีที่มีความสงสัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HIV
แนวทางการรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ใช้ยาปฏิชีวนะ และอาจให้มีการทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวดในระหว่างรักษา โดยในระหว่างการรักษาโรคท่อปัสสาวะอักเสบตัวผู้เข้ารับการรักษาควรมีการดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วยดังนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
- พยายามดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้นราว ๆ วันละ 8-10 แก้ว หรือ 1-2 ลิตร เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกทางปัสสาวะควบคู่ไปกับการทานยา
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายจากโรคท่อปัสสาวะอักเสบ หลังจากนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- รักษาสุขอนามัยให้ดี พยายามทำความสะอาดสุขภัณฑ์ก่อนใช้งานให้สะอาด
- พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักฟื้น
วิธีการป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 1-2 ลิตร เพื่อช่วยขับแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมออกจาร่างกายผ่านทางปัสสาวะ
- ไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ และไม่ควรทำบ่อย เมื่อรู้สึกปวดควรปัสสาวะให้เร็วที่สุด
- หมั่นทำความสะอาดอวัยวะเพศเป็นประจำเพื่อสุขอนามัยที่ดี
- ควรปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยกำจัดแบคทีเรียออกจากร่างกาย และถ้าให้ดีควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อตามมา
- ไม่ควรใส่ชุดชั้นในที่อับชื้นเพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย และควรซักชุดชั้นเป็นประจำพร้อมตากแดดให้แห้งสนิทเพื่อสุขอนามัยที่ดี
สรุปเกี่ยวกับโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
สำหรับโรคท่อปัสสาวะอักเสบถือเป็นภาวะที่สามารถเป็นได้ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในช่วยวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคนที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องสุขอนามัย การใช้ห้องน้ำสาธารณะ การอั้นปัสสาวะนาน ไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านแต่ตัวคุณเองก็สามารถป้องกันได้จาก หากปฏิบัติตามที่กล่าวไปข้างต้นก่อนหน้านี้ได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องท่อปัสสาวะอักเสบอีกต่อไปและคอยรักษาสุขอนามัยเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ
Leave a reply
Leave a reply