นอนหลับไม่สนิท แบบไหนเสี่ยงโรคนอนไม่หลับ

การนอนหลับเปรียบเสมือนการชาร์จพลังให้ร่างกายและสมอง แต่หลายคนก็อาจต้องเผชิญกับปัญหานอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับๆ ตื่น ๆ ตลอดคืนอยู่ ซึ่งหากมีอาการนี้บ่อย ๆ ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนไม่หลับ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการนอนหลับสะดุ้งตื่นตอนกลางดึกบ่อยครั้ง หรือหลับไม่สนิทตลอดคืน ควรอ่านบทความนี้!

อาการนอนไม่หลับมีกี่ประเภท

อาการของโรคนอนไม่หลับนั้น ในทางการแพทย์จะแบ่งออกได้ 3 ประเภทหลัก ๆ และแต่ละประเภทมักเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

  1. Initial insomnia หมายถึง สภาวะที่ร่างกายนอนหลับยากในเวลากลางคืน ไม่สามารถข่มตาหลับได้ ต้องใช้เวลานานกว่าจะหลับสนิทหรืออาจแทบจะไม่หลับเลย ซึ่งสาเหตุของอาการนี้มักมาจากสภาพจิตใจที่แย่ลง หรือความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้คิดวกวน คิดไม่ตก และนอนไม่หลับนั่นเอง
  2. Maintinance insomnia หมายถึง สภาวะที่ร่างกายนอนหลับสนิทไม่ได้ตลอดคืน มีอาการนอนหลับๆ ตื่นๆ ตลอดต่อเนื่องกันเกิน 7 วัน ซึ่งสาเหตุมักมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้นช่วงนอนหลับ เป็นต้น
  3. Terminal insomnia หมายถึง สภาวะที่ร่างกายนอนหลับง่าย แต่หลับไม่นาน มักตื่นนอนเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุมักมาจากโรคบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น

อาการแบบไหนชี้ว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ

ในส่วนของอาการที่ทุกคนสามารถสังเกตได้เบื้องต้นว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคนอนไม่หลับหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้จาก 5 อาการหลักที่บ่งชี้ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาด้านการนอน ดังต่อไปนี้

  1. มีอาการอ่อนเพลียในช่วงเช้าหรือตลอดทั้งวัน ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรง พลังกาย พลังใจในการทำงานและทำกิจกรรมในแต่ละวันลดน้อยลงมาก ๆ
  2. การสั่งงานและการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพลดลง จากที่สมองเคยคิดงานได้เร็วกลับช้าลง หรือสมาธิ ความรู้ และความจำถดถอยมาก ๆ
  3. ระหว่างวันมีอารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ หงุดหงิดง่าย ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส และมักวิตกกังวลในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เสมอ
  4. มีอาการง่วงนอน อยากนอนระหว่างวัน แต่เมื่อจะนอนแล้วก็กลับนอนไม่หลับ พอลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะวนไปง่วงนอนเหมือนเดิม
  5. ชีวิตขาดสีสัน ไม่มีชีวิตชีวา และเบื่อสังคมรอบข้างมาก ๆ ผู้ป่วยบางรายมีอาการของโรคซึมเศร้า หรือภาวะเครียดร่วมด้วย ซึ่งอาจกระทบต่อกิจวัตรและการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับไม่ใช่อาการปกติที่เกิดขึ้นและหายเองได้ เนื่องจากโรคดังกล่าวมีผลมาจากสุขภาพร่างกาย จิตใจ และมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการร่วมด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. ปัจจัยทางด้านร่างกาย เป็นสภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติบางอย่าง เช่น หยุดหายใจช่วงนอนหลับ เป็นกรดไหลย้อน หรือมีปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้
  2. ปัจจัยทางด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ร่างกายเครียด วิตกกังวล มีเรื่องให้คิดมากตลอดเวลาเกินไป ทำให้สมองไม่หยุดทำงาน แม้หลับตาแต่สมองยังคิดเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ จึงทำให้นอนหลับไม่สนิท และนอนหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน
  3. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่สามารถแก้ไขได้ง่าย เพียงใช้การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการนอน ก็จะช่วยให้คุณนอนหลับดียิ่งขึ้นได้

ปัจจัยทางด้านสุขลักษณะการนอนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมให้ร่างกายตื่นตัวก่อนที่จะนอน เมื่อร่างกายตื่นตัวแล้ว จึงส่งผลให้นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิทได้เช่นกัน

นอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

นอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

การทำกิจกรรมในแต่ละวัน ร่างกายใช้พลังงานไปเยอะมาก  จึงจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และมีการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมา ซ่อมแซมร่างกาย ให้พร้อมต่อการทำกิจกรรมในวันถัดไป หากมีอาการนอนหลับไม่สนิท พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟู เมื่อต้องไปทำกิจกรรมหนัก ๆ ในวันถัดไปวนลูปซ้ำ ๆ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว ได้แก่

  1. สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงอย่างชัดเจน เสี่ยงต่อภาวะนกเขาไม่ขัน และมีบุตรยาก
  2. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแย่ลง
  3. ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
  4. สมองทำงานช้าลง ความจำสั้นลง
  5. ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่สดใส
  6. มีปัญหาสุขภาพบ่อย และก่อให้เกิดโรคประจำตัวได้

เมื่อมีอาการของโรคนอนไม่หลับ ไม่ควรนิ่งนอนใจไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว และกระทบต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้ ดังนั้นหากคุณมีปัญหานอนหลับยากที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ จึงควรปรึกษาแพทย์อย่างคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อแก้ไขอาการเหล่านี้จะดีต่อคุณภาพชีวิตของคุณมากที่สุด

แนวทางการรักษาที่แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาอาการนอนไม่หลับของแพทย์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

“การรักษาโดยไม่ใช้ยา” เป็นการรักษาอาการนอนหลับไม่สนิทด้วยการปรับพฤติกรรม ลดความเครียดของสมอง เช่น ให้ปิดไฟให้สนิทก่อนนอน ไม่แขวนนาฬิกาในห้องนอน งดทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวก่อนนอน และทานวิตามินเสริมที่ช่วยในการนอนหลับ รวมถึงการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม ที่ช่วยเสริมการพักผ่อนด้วยหัตถการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การรักษาด้วยฮอร์โมน: เช่น การปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย และหญิง หรือฮอร์โมนไทรอยด์ 
  • การรักษาด้วยสารอาหาร: วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปรับสมดุลร่างกาย
  • การรักษาด้วยพลาสมา: PRP Stem Cell ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองได้ดีขึ้น

“การรักษาโดยใช้ยา” จะเป็นการรักษาทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์จะใช้กัน โดยแพทย์จะจ่ายยากลุ่ม melatonin หรือ Non- Benzodiazepine เพื่อช่วยในการนอนหลับ แต่ยานี้จะไม่สามารถใช้เกิน 14 วันได้ ดังนั้นทุกการรักษาจึงควรอยู่ในดุลพินิจและการดูแลของแพทย์นั่นเอง

นอนหลับไม่สนิท แบบไหนเสี่ยงโรคนอนไม่หลับ

สรุป

อาการนอนหลับไม่สนิท คือ สภาวะร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ มักหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟู จนมีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกันลดลง หย่อน สมรรถภาพ มีปัญหากับคู่รัก มีบุตรยาก และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ที่มีอาการดังกล่าว จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคตของตัวคุณนั่นเอง

ติดต่อเราวันนี้เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนัดหมายรับบริการ เพื่อแก้ไขอาการนอนหลับไม่สนิท  ได้ผ่านช่องทางการติดต่อ:

Leave a reply