หน้ามืด เวียนหัว วูบบ่อย เกิดจากอะไร กรณีไหนที่ต้องดูเป็นพิเศษ
อาการหน้ามืดบ่อย เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยได้มาก ซึ่งหลายคนมักจะคิดว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการปกติของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ นั่งพักสักระยะก็สามารถหายได้เอง แต่ในความเป็นจริง อาการหน้ามืด เวียนหัว วูบหมดสติ เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพร่างกาย หรือปัญหาสุขภาพจิตใจ และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงได้ด้วยนั่นเอง
อาการวูบ หมดสติ เกิดจากอะไรได้บ้าง
อาการหน้ามืดบ่อยเป็นลมวูบโดยที่ไม่ทันตั้งตัวนั้น พบได้จากสาเหตุหลัก ๆ 3 ประการ ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้
- อาการหน้ามืดเวียนหัววูบ เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เช่น มีเส้นเลือดบางเส้นอุดตันในสมอง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้ จึงทำให้หน้ามืด วูบ หมดสติหรืออาจเกิดอาการลมชักฉับพลันได้
- เกิดจากการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจนั้น มักจะมีอาการหน้ามืดบ่อยกว่าโรคอื่น ๆ เนื่องจาก 3 สาเหตุนี้
- เส้นเลือดถูกอุดตันกะทันหัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมหมดสติฉับพลันได้
- มีอาการหัวใจเต้นอ่อนแรง เลือดที่ส่งไปยังหัวใจ ไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ร่วมถึงสมองเองก็เช่นกัน เมื่อสมองขาดเลือด จึงทำให้มีอาการหน้ามืดบ่อยเป็นลมได้นั่นเอง
- หัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองมีประสิทธิภาพลดน้อยลง จึงมีโอกาสเป็นลมได้บ่อย
- ระบบประสาทของร่างกายทำงานเร็วกว่าปกติ ทำให้เมื่อมีความผิดปกติของร่างกาย เช่น ร้อนเกินไป เย็นเกินไป ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอนน้อยเกินไป ฯลฯ ล้วนกระตุ้นให้ระบบประสาทและหัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทบไปถึงสมอง ทำให้การทำงานของสมองแย่ลง จึงมีโอกาสหน้ามืดได้มากกว่าปกตินั่นเอง
- เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ
- ภาวะโลหิตจาง: เลือดมีเม็ดเลือดแดงน้อย ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ: ร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- ภาวะขาดน้ำ: ร่างกายสูญเสียน้ำมาก ทำให้เลือดข้นหนืด ไหลเวียนไม่สะดวก
- ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยาต้านซึมเศร้า หากรับประทานไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการวูบ หมดสติได้
อาการแบบไหนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
อาการหน้ามืดบ่อยเป็นเรื่องที่ควรตระหนัก และหาสาเหตุต้นตอ เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งสำหรับผู้ป่วยหน้ามืดบ่อยที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 60 มก.ดล. จะส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ และจะมีอาการมือไม้สั่น ใจสั่น เหงื่อออกมากผิดปกติ สายตาพร่ามัว และเป็นลมหมดสติไปเฉียบพลันได้ ซึ่งบางรายที่น้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไป มักจะช็อกหมดสติและเสียชีวิตได้ทันที ดังนั้นควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยลดโอกาสหน้ามืดบ่อยได้แล้ว ยังดีต่อสุขภาพร่างกายมาก ๆ อีกด้วย
ระบบประสาทและสมองผิดปกติ
หน้ามืดบ่อยที่เกิดจากระบบประสาทและการทำงานของสมองผิดปกติ เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด เนื่องจากระบบประสาทจะเกี่ยวพันกับการสั่งการทุกอย่างในร่างกาย รวมทั้งการทรงตัวด้วย หากร่างกายไม่สามารถทรงตัวได้ จึงมีอาการวูบ คล้ายจะเป็นลม และอาจล้มหมดสติได้ แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจแทรกซ้อนตามมาได้
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้หน้ามืดบ่อยที่น่ากังวลใจ คือ บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโดยที่ยังไม่รู้ตัว เนื่องจากหัวใจ ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เมื่อเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เลือดที่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะทุกส่วนนั้นอาจไม่เพียงพอ ซึ่งนอกจากทำให้เป็นลมหมดสติ หน้ามืดบ่อยได้แล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือดได้อีกด้วย
แนวทางการวินิจฉัยโรคแทรกซ้อน
สำหรับผู้ที่มีอาการหน้ามืดบ่อย วูบเป็นลมวันละหลายครั้ง หรือใน 7 วัน เป็นลมไป 2-3 ครั้ง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้ ซึ่งขณะที่เข้ามาพบแพทย์นั้นจะมีขั้นตอนการวินิจฉัย ดังนี้
- ซักประวัติ เพื่อคัดกรองอาการ และแนวทางในการวินิจฉัยโรค
- ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น ตามลักษณะอาการที่ได้จากการซักประวัติ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค เช่น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจ CBC (Complete Blood Count) เพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ตรวจไขมันในเลือด ตรวจระดับน้ำตาล ตรวจระดับเกลือแร่ในเลือด ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ ตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ และอื่น ๆ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อดูการเต้นของหัวใจ และตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อตรวจดูโครงสร้างและการทำงานของลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และห้องหัวใจ รวมทั้งควรตรวจหลอดเลือดร่วมด้วย
- การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) สมอง เพื่อตรวจดูความผิดปกติของสมอง อาทิ เนื้องอก หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
- รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ซึ่งทุกขั้นตอนของการตรวจวินิจฉัยโรค ควรดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการรักษาอาการหน้ามืดบ่อยให้ตรงกับสาเหตุมากที่สุด
ป้องกันอย่างไรไม่ให้หน้ามืดบ่อย
เพื่อป้องกันไม่ให้หน้ามืดบ่อย ๆ จะมีวิธีดูแลสุขภาพได้ด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการวูบ และควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
1.ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ธัญพืช และโปรตีน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
- จัดการความเครียดให้เหมาะสม หมั่นฝึกสมาธิ และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
- งดสูบบุหรี่ งดการดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้หน้ามืดบ่อย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว ๆ
- หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
- หากมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ควรทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง
- หากมีอาการผิดปกติใด ๆ จากการรับประทานยาที่แพทย์สั่ง เช่น หน้ามืดบ่อย ๆ อาการเหมือนจะวูบ ให้รีบนำยากลับมาพบแพทย์ทันที
สรุป
อาการหน้ามืดบ่อย เป็นลม หมดสติ ไม่ใช่อาการปกติที่ควรมองข้าม เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้มีอาการดังกล่าว มักมาจากปัญหาสุขภาพที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติใด ๆ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ และทำการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคอย่างเหมาะสม และที่สำคัญควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะช่วยป้องกันหรือรักษาโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่เริ่มพบความผิดปกติของร่างกาย เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจตามมาในอนาคต
ติดต่อเราวันนี้เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ผ่านช่องทางการติดต่อ:
- เว็บไซต์: https://www.trinwellness.com/en/
- เบอร์โทร: 02-123-4567
- ไลน์: @trinwellness
- Facebook: Trin Wellness Clinic
Leave a reply