ภาวะมีบุตรยากในผู้ชายเกิดได้อย่างไร พร้อมแนะแนวทางรักษา

รู้หรือไม่ว่า? ภาวะมีบุตรยาก ไม่เพียงแต่เป็นภาระให้กับผู้หญิง ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด และแบกรับโอกาสในการตั้งครรภ์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะการมีบุตรต้องเกิดจากอสุจิของฝ่ายชายร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพศชายก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยต่อการมีบุตร หากอสุจิของเพศชายไม่แข็งแรง จะส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ 30 – 40% เลยทีเดียว หลายครอบครัวจึงเลือกไปปรึกษาคุณหมอกันว่า ภาวะการมีบุตรยากวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้าง? เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ภาวะมีบุตรยากในผู้ชายเกิดจากอะไร

การตั้งครรภ์ คือ การปฏิสนธิกันระหว่างไข่ของผู้หญิงกับอสุจิของผู้ชาย หากฝ่ายใดฝ่ายนึงมีไข่หรืออสุจิที่ไม่แข็งแรงมากพอ ก็อาจทำให้การปฏิสนธินั้นไม่สำเร็จ หรือมีภาวะมีบุตรยากได้ สำหรับฝ่ายชายแล้ว การมีอสุจิที่ไม่แข็งแรงพอ นั้นเกิดมาจากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตลอดจนโรคประจำตัวต่าง ๆ ก็ล้วนส่งผลให้อสุจิไม่แข็งแรงพอ และไม่สามารถฝ่าฟันจนไปปฏิสนธิกับไข่ของผู้หญิงได้

ซึ่งหากปัญหานี้เกิดจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณผู้ชายที่ไม่เหมาะสม การแก้ปัญหานี้ก็สามารถเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ โดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา เช่น

  • หากน้ำหนักตัวเยอะจนเกินไป ก็ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ที่อาจส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างอสุจิน้อยลงได้ 

อย่างไรก็ตาม นอกจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันแล้ว ยังรวมไปถึงความผิดปกติของอวัยวะเพศที่มีมาแต่กำเนิดหรือแม้กระทั่งการมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือความเครียดสะสม ก็อาจทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และส่งผลให้ผู้ชายมีลูกยากได้ เช่นกัน 

แนวทางการวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

การปรึกษาพบแพทย์ เป็นทางออกสิ่งสำคัญ สำหรับครอบครัวไหนที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งแนวทางการวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย สามารถวินิจฉัยได้หลายส่วน ดังนี้

  1. การตรวจเลือด

สำหรับการตรวจเลือด จะตรวจเพียงเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุว่าความผิดปกติดังกล่าวมาจากพันธุ์กรรมหรือไม่? รวมไปถึงตรวจฮอร์โมนเพศชาย เพื่อหาค่าระดับของเทสโทสเตอโรน เพราะหากมีฮอร์โมนนี้ต่ำไป ก็อาจทำให้มีปริมาณอสุจิน้อยลงได้

  1. การตรวจรูปลักษณะภายนอก

การตรวจรูปลักษณะภายนอกของอวัยวะเพศชายเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์เพศชาย โดยแพทย์จะทำการตรวจด้วยตาเปล่าเพื่อดูลักษณะทั่วไปของอวัยวะเพศชาย ซึ่งปกติแล้วควรมีลักษณะดังนี้

  • ส่วนปลาย (Glans): มีรูปร่างกลมรี ปลายมน
  • ลำอวัยวะเพศ (Shaft): มีลักษณะป้อม อวบใหญ่ และมีความยาวสั้นกว่าส่วนปลายและส่วนหาง
  • ส่วนหาง (Scrotum): มีลักษณะยาว เรียว และค่อย ๆ เล็กลง
  • ขนาด: โดยทั่วไปแล้ว อวัยวะเพศชายที่แข็งตัวเต็มที่ (Flaccid) จะมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และเส้นรอบวงประมาณ 3-4 เซนติเมตร

 ซึ่งขนาดของอวัยวะเพศนั้นเป็นส่วนสำคัญ เพราะจะช่วยให้หลั่งอสุจิออกมาได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง

  1. การตรวจน้ำเชื้ออสุจิ

การตรวจน้ำเชื้ออสุจิเป็นส่วนสำคัญในการวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก ซึ่งทางแพทย์จะทำการเก็บอสุจิมา เพื่อตรวจสอบว่าแข็งแรงในระดับใด? และมีความเข้มข้นของอสุจิมากพอหรือไม่? รวมไปถึงตรวจจากกล้องจุลทรรศน์ด้วยว่าอสุจิยังมีชีวิตอยู่เปล่า? แถมยังดูความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยว่าว่ายเก่งแค่ไหน และคล่องแคล่วมากพอต่อการว่ายไปปฏิสนธิกับไข่หรือไม่?

  1. การตรวจจากตัดชิ้นเนื้อ

การตัดชิ้นเนื้ออัณฑะเพื่อตรวจหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก เป็นการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากอัณฑะไปตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำเชื้อ ซึ่งจะได้รับการตรวจด้วยวิธีนี้ ก็ต่อเมื่อผ่านการตรวจน้ำอสุจิ ที่ผ่านท่อหลักที่เก็บน้ำเชื้อมาก่อน หากพบความผิดปกติ ถึงจะตรวจด้วยวิธีนี้ เพื่อประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม

แนวทางการรักษาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

แนวทางการรักษาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวไกลมากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพเพศชาย และช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้อย่างตรงจุด ด้วยหลากหลายแนวทาง ดังนี้

รักษาภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย ด้วยการตรวจวัดระดับฮอร์โมน

การตรวจวัดระดับฮอร์โมนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวินิจฉัยและรักษาภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย โดยแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก สุขภาพโดยรวม และความต้องการของผู้ป่วย 

หากคุณผู้ชายมีภาวะมีบุตรยาก จากฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ต่ำ แพทย์ก็อาจสั่งยาฮอร์โมนเพศชายเสริม เช่น ยา Testosterone replacement therapy (TRT) ที่จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล เพื่อให้คุณผู้ชายสร้างอสุจิอย่างมีคุณภาพมากขึ้น

นำน้ำเชื้อออกจากอัณฑะ 

การนำน้ำเชื้อออกจากอัณฑะ (Sperm retrieval) เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่ใช้เก็บน้ำเชื้อจากอัณฑะโดยตรง มักใช้ในกรณีที่ผู้ชายมีปัญหาการสร้างน้ำเชื้อหรือการหลั่งน้ำเชื้อ เช่น

  • ภาวะไม่มีท่อนำอสุจิ (Azoospermia)
  • ภาวะมีท่อนำอสุจิอุดตัน (Obstructive azoospermia)
  • ภาวะหลั่งน้ำเชื้อน้อย (Oligozoospermia)
  • ภาวะความผิดปกติของรูปร่างและการเคลื่อนที่ของอสุจิ (Teratozoospermia)
  • ภาวะการหลั่งย้อนกลับ (Retrograde ejaculation)
  • ภาวะหลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากหรืออัณฑะ

ซึ่งวิธีการเก็บน้ำเชื้อจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

  1. การดูดอสุจิผ่านเข็ม (Percutaneous epididymal sperm aspiration – PESA): แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านถุงอัณฑะเข้าไปใน epididymis ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอัณฑะที่เก็บน้ำเชื้อ วิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที และมักไม่ต้องใช้ยาชา
  2. การผ่าตัดเปิดอัณฑะเพื่อเก็บน้ำเชื้อ (Testicular sperm extraction – TESE): แพทย์จะทำการผ่าตัดเล็กน้อยเพื่อเปิดอัณฑะและนำเนื้อเยื่ออัณฑะออกมา วิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที และมักใช้ยาชาหรือยาสลบร่วมด้วย

น้ำเชื้อที่เก็บได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ  และแพทย์จะคัดเลือกอสุจิตัวที่มีสุขภาพดีที่สุดสำหรับใช้ในการผสมเทียม (IUI) หรือการปฏิสนธิโดยฉีดอสุจิเข้าสู่ไข่ (ICSI)

ฉีดเชื้อผสมเทียม 

ต้องยอมรับว่าการฉีดเชื้อผสมเทียม มีความนิยมอย่างแพร่หลาย สำหรับครอบครัวไหนที่มีบุตรยาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธี สำหรับผู้ชายมีลูกยากที่มีภาวะอสุจิน้อยกว่า 5 ล้านตัว หรือมีอสุจิที่ไม่แข็งแรง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการตายของอสุจิ และทำอสุจิเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของผู้หญิงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ภาวะมีบุตรยากในผู้ชายเกิดได้อย่างไร พร้อมแนะแนวทางรักษา

สรุป

เชื่อว่าหลายครอบครัวที่อยากมีบุตร แต่มีบุตรยาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นผลมาจากทางคุณผู้ชายได้เช่นกัน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้น  หากคุณมีปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศ ที่เป็นอุปสรรคต่อการมีบุตร ไม่ว่าจะมีปัญหาน้องชายไม่แข็งตัวเต็มที่ หลั่งเร็ว หรืออสุจิอ่อนแอ อย่ากังวลไป! Trin Wellness มีทางออกให้คุณได้ด้วยหัตถการ Shockwave น้องชาย

เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศชายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องพักฟื้น

กลไกการทำงานของ Shockwave Therapy

  • กระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ในองคชาต
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
  • ฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสื่อมโทรม
  • กระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาท
  • เพิ่มความไวต่อสัมผัส

ติดต่อเราวันนี้เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนัดหมายรับบริการ ได้ผ่านช่องทางการติดต่อ:

Leave a reply